รหัสอบรม:
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและทดสอบความรู้ตามมาตรฐานเรื่อง
ผู้ชำนาญการลิฟต์ด้านพื้นฐานทั่วไป
(Lift Competent Person : General Fundamental) รุ่นที่ 7
ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.
จัดโดย คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ
หน่วยพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องจากสภาวิศวกร (PDU)
อบรมและสอบผ่าน 24 หน่วย อบรมและสอบไม่ผ่าน 12 หน่วย
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันประเทศไทยมีอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก อาคารเหล่านี้ตัวอย่างเช่น อาคารสำนักงาน หน่วยงานราชการ สถานศึกษา ศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล และรวมถึงอาคารพักอาศัยทั้งคอนโดมิเนียม และอพาร์ทเมนต์ ซึ่งอาคารดังกล่าวจะมีการติดตั้ง การใช้งาน และการบำรุงรักษาลิฟต์ และบันไดเลื่อน ดังนั้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานและเกิดความปลอดภัยทำให้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงกำหนดให้มีลิฟต์ใช้งานตามลักษณะการใช้สอยของอาคาร โดยในปีพ.ศ. 2564 มีกฎกระทรวงกำหนดให้มีลิฟต์ลิฟต์โดยสารที่มีพิกัดบรรทุกกำหนดไว้ ลิฟต์เพื่อการกู้ชีพที่สามารถลำเลียงคนและเปลรถพยาบาลเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และลิฟต์สำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ ซึ่งเพิ่มเติมเป็นจากลิฟต์ดับเพลิงที่กำหนดตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33
ในการอบรมในรุ่นที่ 5 จึงได้เพิ่มข้อมูลและรายละเอียดด้านลิฟต์ที่ใช้ในอาคารที่มีลักษณะการใช้สอยต่างกัน เพื่อให้เป็นไปตามฎกระทรวง ประกอบกับในปัจจุบันประเทศไทยยังต้องการบุคลากรด้านลิฟต์เป็นจำนวนมาก ในงานบำรุงรักษาและตรวจสอบลิฟต์ในอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งมาตรฐานลิฟต์ระบบลิฟต์ และลิฟต์โดยสารที่ใช้ขนของ วสท.032012-60 ได้กำหนดคุณสมบัติของ ผู้ชำนาญการลิฟต์ (Lift Competent Pesson) จะต้องได้รับการฝึกอบรมตามจำนวนชั่วโมงที่เพียงพอ และผ่านการทดสอบด้านความรู้ที่เกี่ยวกับลิฟต์
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดให้มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ และทดสอบความรู้ตามมาตรฐาน เรื่อง “ผู้ชำนาญการลิฟต์ (Lift Competent Pesson)” เพื่อการพัฒนาบุคลากร วิศวกร สถาปนิก ช่างเทคนิค ผู้ควบคุมอาคาร และผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องด้านลิฟต์ และบันไดเลื่อน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ การใช้งานที่ถูกต้อง การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ และที่สำคัญเพื่อให้เกิดความความปลอดภัยในการใช้งาน โดยผู้เข้าอบรมเมื่อผ่านการอบรมแล้วจะมีความรู้เบื้องต้นด้านลิฟต์ และบันไดเลื่อน เพื่อทำการตรวจสอบลิฟต์ และบันไดเลื่อนตามกฎกระทรวง และสามารถนำความรู้ไปประกอบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้
หลักสูตรการอบรมจะใช้มาตรฐานระบบลิฟต์โดยสารและลิฟต์โดยสารที่ใช้ขนของ วสท. 032012-60 มาตรฐานลิฟต์พนักงานดับเพลิง วสท.032012/F-61 และหนังสืออธิบาย การใช้ลิฟต์ในสถานการณ์เพลิงไหม้ วสท.032012/B-61 ซึ่งเป็นมาตรฐานลิฟต์ฉบับล่าสุดตาม EN81-20 ส่วนบันไดเลื่อนจะใช้แนวทางตามมาตรฐานความปลอดภัยของระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อนอัตโนมัติ ปี พ.ศ. 2564
การอบรม 2 วัน จำนวน 12 ชั่วโมง ตามมาตรฐานลิฟต์ วสท. 032012-60 จะแบ่งเป็น
- การบรรยายในห้องอบรมจำนวน 6 ชั่วโมง
- การดูงานภาคปฏิบัติ แนวทางการตรวจสอบความปลอดภัยของลิฟต์ และบันไดเลื่อน ที่อาคาร จำนวน 6 ชั่วโมง
หมายเหตุ: ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการการอบรม จะต้องอบรมและทดสอบด้วยการสอบข้อเขียนจำนวน 1 ชั่วโมง
ผู้เข้าอบรมที่ไม่ผ่านการสอบข้อเขียนจะได้วุฒิบัตรการอบรมเท่านั้น
วัตถุประสงค์
- ให้ความรู้ ความเข้าใจ การใช้งานที่ถูกต้อง การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ ความปลอดภัยของลิฟต์ และบันไดเลื่อน เพื่อเป็นผู้ชำนาญการลิฟต์ด้านพื้นฐานทั่วไป (Lift Competent Person : General Fundamental) ได้ตามมาตรฐาน
- สามารถนำความรู้ และการปฏิบัติไปใช้ในการตรวจสอบลิฟต์ และบันไดเลื่อนตามกฎกระทรวง
- สามารถนำความรู้ไปประกอบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมได้
- เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และแก้ไขปัญหาได้
- เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ของวิทยากร และพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
กลุ่มเป้าหมาย
หลักสูตรดังกล่าวจัดทำขึ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็น วิศวกร สถาปนิก เจ้าของโครงการ ผู้ควบคุมการก่อสร้าง ช่างเทคนิค ผู้ควบคุมอาคาร และผู้สนใจทั่วไป
วิทยากร
คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วสท. และ วิทยากรจากสมาคมลิฟต์แห่งประเทศไทย
ส่งหลักฐานการโอนพร้อมที่อยู่ออกใบเสร็จ และที่อยู่จัดส่งใบเสร็จได้ที่ E-mail: admineit05@eit.or.th
คุณเยาวรักษ์ บุญสวัสดิ์ (โม) โทร 0 2184 4600 – 9 ต่อ 500