รหัสอบรม:

การอบรมมาตรฐานเชิงปฏิบัติการเรื่อง

“การออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

และไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน”

วันที่ 24-25 เมษายน 2567  เวลา 09.00 – 16.00 น. (วันพุธ – พฤหัสบดี)

ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคาร วสท.  ซอยรามคำแหง 39

จัดโดย  คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.

ฟรี  ** หนังสือมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

และไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน วสท.

 

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

 

หลักการและเหตุผล

ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในชีวิตของผู้ใช้อาคาร โดยใช้เป็นเครื่องมือให้แสงสว่างและนำทางไปสู่สถานที่ปลอดภัยได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าปกติล้มเหลว หรือ เกิดเพลิงไหม้ ฯลฯ รวมทั้งทราบถึงพื้นที่เก็บอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์แจ้งเหตุ และอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ได้อย่างชัดเจน

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้จัดการอบรมมาตรฐานเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน เพื่อให้ทราบและเข้าใจในข้อกำหนดด้านการออกแบบ การติดตั้ง การดูแลและการตรวจสอบ รวมถึงการใช้โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนระบบเสริมต่างๆ เช่น ป้ายเสริม ระบบนำทางแบบต่างๆ ฯลฯ เพื่อใช้ในทางหนีภัย พื้นที่โล่งภายในอาคาร และพื้นที่งานความเสี่ยงสูง ทำให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับอาคารพักอาศัย อาคารสำนักงาน อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ โรงแรม โรงพยาบาล สถานบริการ โรงมหรสพ และอาคารสาธารณะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังได้ทราบถึงการออกแบบด้วยโปรแกรม DIALux อีกด้วย

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเผยแพร่มาตรฐาน วิธีการนำไปใช้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่ถูกต้องในการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  2. เพื่อพัฒนาทักษะวิธีคิดกระบวนการพิจารณา และความรู้ความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานในการออกแบบ การติดตั้ง การตรวจสอบ การใช้งาน และการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  3. เพื่อให้ผู้อบรมได้รับความรู้ล่าสุดของระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  4. เพื่อสร้างความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
  5. เพื่อหนีภัยจากอาคารได้รวดเร็วและปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน
  6. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยตามกฎหมาย
  7. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถเข้าใจในโปรแกรม DIALux วิเคราะห์การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
  8. เพื่อพัฒนาวิชาชีพของวิศวกรให้มีคุณภาพในระดับสากล

กำหนดการ

กำหนดการ เนื้อหาการอบรม หมายเหตุ
วันพุธที่ 24 เมษายน 2567

09.00 – 12.00 น.          ข้อกำหนดและข้อแนะนำระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน ตามมาตรฐาน วสท.

–  ข้อกำหนดด้านการให้แสงสว่าง การทำงาน ระยะห่าง และระยะเวลาจ่ายไฟ ของระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

–  ข้อกำหนดด้านการทำงาน ระยะห่าง และระยะเวลาจ่ายไฟ ของระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  ข้อกำหนดของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  ข้อกำหนดของระบบแบตเตอรี่

–  ข้อแนะนำสำหรับระบบเสริมต่างๆ เช่น ป้ายเสริม ระบบนำทางแบบต่างๆ

–  มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วิทยากร  รศ.ถาวร  อมตกิตติ์

12.00 – 13.00 น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16.00 น.          ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

–  พื้นฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

–  องค์ประกอบของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และเทคโนโลยีระบบ LED

–  ประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าแสงสว่างและการใช้งาน

–  ลักษณะของโคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  ตัวอย่างการวิเคราะห์การออกแบบการส่องสว่างโดยใช้โปรแกรม DIALux

วิทยากร  รศ.ไชยะ  แช่มช้อย

วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567

09.00 – 12.00 น.          การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  พื้นฐานการออกแบบ

–  การจัดการและการแบ่งพื้นที่

–  การออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

–  การออกแบบระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินอย่างเหมาะสม

–  การออกแบบวงจรไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  การคำนวณขนาดแบตเตอรี่และเครื่องประจุแบตเตอรี่

–  การป้องกันวงจรไฟฟ้า และขนาดสายไฟฟ้าพร้อมท่อ

–  แบบแปลนและรายละเอียดแบบแปลน

วิทยากร  คุณสุวิชญาน์  เมธมโนรมย์

12.00 – 13.00 น.          พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.25 น.          การติดตั้ง การดูแล และการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  พื้นฐานการติดตั้ง

–  การเลือกใช้ระบบและอุปกรณ์

–  การติดตั้งและการปรับตั้งระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน

–  การติดตั้งและการปรับตั้งระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน

–  แบบฟอร์มและรายการรับรองการทำงานแล้วเสร็จ

วิทยากร  คุณกิตติ  สุขุตมตันติ

14.40 – 16.00 น.          –  พื้นฐานการดูแลและการตรวจสอบ

–  เครื่องมือและระบบที่ใช้ในการดูแลและการตรวจสอบ

–  การตรวจสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน (รวมตรวจสอบแบบรวมศูนย์)

–  การตรวจสอบระบบไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน (รวมตรวจสอบแบบรวมศูนย์)

–  แบบฟอร์มและรายการตรวจสอบและทดสอบระหว่างใช้งาน

วิทยากร  คุณเกษม  นิลเจริญ

 

อนึ่ง  พักรับประทานอาหารว่าง  :  10.25 – 10.40 น.  และ 14.25 – 14.40 น.

 

คณะวิทยากร

วันที่จัด

24/04/2024

สถานที่จัด

วสท. ชั้น 4

คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมอบรม
1. วิศวกรไฟฟ้าและช่างไฟฟ้า
2. สถาปนิก / มัณฑนากร
3. ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉินหรือความปลอดภัย
4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบการหรืออาคาร
5. ผู้ออกแบบ ผู้ติดตั้ง ผู้ใช้งาน ผู้ตรวจสอบและทดสอบระบบ ตลอดจนผู้ผลิตสินค้า
6. ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ / เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
7. บุคคลทั่วไป อาจารย์ และนิสิต / นักศึกษา

จำนวนที่รับ

80 คน (จำนวนที่ว่าง 80 ที่)

ค่าลงทะเบียน

สมาชิิก ราคาปกติ ราคาเมื่อชำระก่อนวันที่ 18 เม.ย. 67
สมาชิก วสท. บาท บาท
ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บุคคลทั่วไป บาท บาท

หน่วยงานที่จัด

วสท.

เจ้าหน้าที่ผู้่ดูแล

นพมาศ ปิ่นสุวรรณ

รายละเอียดและใบสมัคร

แผ่นพับ-แสงสว่างฉุกเฉินป้ายทางออกฉุกเฉิน-รุ่น1-2567.pdf

รหัสอบรม:


ที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร