รหัสอบรม:

การอบรมเรื่อง “การออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคารระดับต้น”

(ทฤษฎีและปฏิบัติ) รุ่นที่ 6

วันที่ 22-23 มีนาคม 2567 (วันศุกร์, วันเสาร์)

ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา)

จัดโดย  คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

 

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

 

หลักการและเหตุผล

ระบบไฟฟ้าที่ดี ประกอบด้วยหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งได้แก่ การออกแบบ การกำหนดและเลือกใช้บริภัณฑ์ไฟฟ้า การติดตั้ง การตรวจรับงาน การใช้งาน และการตรวจสอบและบำรุงรักษา

การได้มาซึ่งระบบไฟฟ้าที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการออกแบบที่ดีก่อนเป็นลำดับแรก ผู้ออกแบบต้องศึกษารายละเอียดทั้งหมดและดำเนินการให้ถูกต้อง สอดคล้องและตรงกับความต้องการใช้งาน ระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องมีความปลอดภัย สามารถใช้งานได้ดีเต็มประสิทธิภาพ มีความเชื่อถือได้ มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และเป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย มาตรฐานและข้อกำหนดของบริภัณฑ์ที่จะใช้งาน เป็นต้น

ในปัจจุบันพบปัญหางานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าในหลายส่วน สาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการออกแบบที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานและไม่ประสานสัมพันธ์กับงานด้านสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมโครงสร้าง งานระบบเครื่องกล งานระบบสุขาภิบาล ตลอดจนผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภค เช่น การไฟฟ้าฯ ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น จึงก่อให้เกิดปัญหาข้อจำกัดในการติดตั้ง ส่งผลกระทบต่อการตรวจรับงาน การใช้งาน และการตรวจสอบบำรุงรักษา ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย

วสท.ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีนโยบายให้จัดทำหลักสูตรการอบรม เรื่อง “การออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคารระดับต้น” ถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวกับแนวทางหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบงานระบบไฟฟ้าภายในอาคารระดับพื้นฐานให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยวิธีการบรรยายพร้อมฝึกปฏิบัติและทดสอบ ให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือศึกษาเพิ่มเติมจากมาตรฐานและหลักสูตรอื่น ๆ ของ วสท. เพื่อการบรรลุเป้าหมายให้ได้มาซึ่งระบบไฟฟ้าที่ดีต่อไป

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้ที่เข้ารับการอบรมจะทราบถึงแนวทางหลักเกณฑ์และวิธีการออกแบบงานระบบไฟฟ้าภายในอาคาร ให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งทาง ไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  2. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการประมาณโหลด เพื่อให้ทราบขนาดของระบบไฟฟ้าเบื้องต้น ให้สามารถวางแผนและการจัดเตรียม พื้นที่สำหรับงานระบบไฟฟ้าทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงประเมินงบประมาณค่าก่อสร้างเบื้องต้นได้
  3. ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการคำนวณหาขนาดอุปกรณ์ป้องกัน การกำหนดขนาดสาย การเลือกวิธีการเดินสาย การกำหนดขนาด สายดิน การคำนวณโหลดวงจรย่อยไฟฟ้าแสงสว่างและวงจรย่อยเต้ารับ การเขียนแบบ เช่น การเขียนแผนภาพเส้นเดียว (single line      diagram) การเขียนแผนภาพแนวดิ่ง (riser diagram) การเขียนแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างและเต้ารับ เป็นต้น
  4. ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานตามขอบเขตงานของตนเองที่สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

 

กำหนดการ

กำหนดการ เนื้อหาการอบรม หมายเหตุ
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2567

08.30-08.50 น.     ล งทะเบียน

08.50-09.00 น.            พิธีเปิดการอบรม

09.00-10.30 น.            ­   ระบบไฟฟ้าที่ดี

­   มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตงานวิศวกรรมควบคุม

โดย    คุณสุธี  ปิ่นไพสิฐ

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

10.30-10.45 น.            พักรับประทานของว่าง

10.45-12.00 น.            ­   แนวทางการออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

­   ศึกษาแบบรายละเอียดด้านสถาปัตยกรรมของอาคารต้นแบบ

การกำหนดขอบเขตงาน

การประมาณโหลดเบื้องต้น

โดย    คุณสุธี  ปิ่นไพสิฐ

12.00-13.00 น.            พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30 น.            ­   การเขียนแผนภาพเส้นเดียว (single line diagram) และแผนภาพแนวดิ่ง (riser diagram)

­   ฝึกปฏิบัติและทดสอบ

14.30-14.45 น.            พักรับประทานของว่าง

  • -16.30 น. ­ การคำนวณหาขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกิน

­   การกำหนดขนาดสายเมน สายป้อนต่าง ๆ และสายดิน

ฝึกปฏิบัติและทดสอบ

โดย    คุณเอกชัย ประสงค์ และคณะ

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567

 

09.00-10.30 น.            ­   แนวทางการออกแบบวงจรย่อยระบบไฟฟ้าแสงสว่างและวงจรย่อยเต้ารับไฟฟ้า

­   ฝึกปฏิบัติและทดสอบ

10.30-10.45 น.            พักรับประทานของว่าง

  • -12.15 น. ­   การเขียนตารางการใช้ไฟฟ้า (load schedule)

­   โหลดงานระบบประกอบอาคารอื่น ๆ

ฝึกปฏิบัติและทดสอบ

โดย    คุณเอกชัย ประสงค์ และคณะ

12.15-13.15 น.            พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.15-15.00 น.            ­   การจัดทำสัญลักษณ์งานระบบไฟฟ้าและแนวทางการเขียนแบบ

­   สรุปภาพรวมของแบบงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร และข้อเสนอแนะต่าง ๆ

15.00-15.15 น.            พักรับประทานของว่าง

15.15-16.30 น.            ­   ฝึกปฏิบัติและทดสอบ

­   ถาม-ตอบ

โดย    คุณเอกชัย ประสงค์ และคณะ

 

หมายเหตุ :      พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30-10.45 น. และ 14.30-14.45 น.

พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.15-13.00 น.

 

คณะวิทยากร

22-23/3/2567 การออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคารระดับต้น (ทฤษฎีและปฏิบัติ) รุ่นที่ 6

คณะวิทยากร

  1. 1. นายสุธี ปิ่นไพสิฐ, กรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท.
  2. 2. นายเอกชัย ประสงค์, กรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วสท.
  3. 3. นายจตุพร อรุณพันธุ์ กรมโยธาธิการและผังเมือง
  4. 4. นายกิติศักดิ์ ผึ้งทอง กรมโยธาธิการและผังเมือง

วันที่จัด

22/03/2024

สถานที่จัด

วสท. ชั้น 4

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้ออกแบบ ผู้กำหนดและเลือกใช้บริภัณฑ์ ผู้ติดตั้ง ผู้ใช้งาน ผู้ตรวจสอบและบำรุงรักษา และผู้สนใจทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้า ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในงานออกแบบงานระบบไฟฟ้าภายในอาคาร

จำนวนที่รับ

60 คน (จำนวนที่ว่าง 60 ที่)

ค่าลงทะเบียน

สมาชิิก ราคาปกติ ราคาเมื่อชำระก่อนวันที่ 14 มี.ค. 67
สมาชิก วสท. บาท บาท
ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บุคคลทั่วไป บาท บาท

หน่วยงานที่จัด

วสท.

เจ้าหน้าที่ผู้่ดูแล

นพมาศ ปิ่นสุวรรณ

รายละเอียดและใบสมัคร

การออกแบบระบบไฟฟ้าภายในอาคารระดับต้น-ทฤษฏีและปฏิบัติ-รุ่นที่-6.pdf กดตรงนี้เพื่อลงทะเบียน

รหัสอบรม:


ที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร