รหัสอบรม:
การอบรมเรื่อง การออกแบบ ติดตั้ง ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าใต้ดิน
รุ่นที่ 3
วันที่ 16-17 ตุลาคม 2566 (วันจันทร์-วันอังคาร)
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39
จัดโดย คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน มีความพยายามในการผลักดันให้เมืองใหญ่ต่างๆ นำสายไฟฟ้าที่ขึงบนอากาศลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการด้วยกัน ได้แก่ การเพิ่มความเชื่อได้ของการจ่ายกระแสไฟฟ้า การปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมือง และการสร้างปลอดภัยจากการสัมผัสไฟฟ้า แต่การวางโครงข่ายระบบไฟฟ้าใต้ดินนั้น จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งยังต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น แม้ว่าจะเป็นที่เชื่อกันอย่างทั่วไปว่าระบบสายไฟฟ้าใต้ดินมีความเชื่อถือได้สูงกว่าสายไฟฟ้าอากาศค่อนข้างมาก เนื่องจากการที่มีฉนวนแข็งแรงทั้งถูกฝังไว้ใต้ดินอย่างมิดชิด มีการป้องกันอย่างหนาแน่น แต่หากเกิดชำรุดขึ้นมา จะใช้เวลาในการแก้ไขซ่อมแซมนานกว่าสายไฟฟ้าอากาศมาก ดังนั้นเพื่อให้สามารถรับประกันผลการใช้งานระบบสายไฟฟ้าใต้ดินให้ได้อย่างมีคุณภาพ เชื่อถือได้ปลอดภัย จึงต้องอาศัยการออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษา และใช้งาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
วสท. ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการพัฒนาทักษะ ของบุคลากรทางด้านระบบไฟฟ้าใต้ดิน จึงได้จัดอบรมโดยทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานจริงมาบรรยายมาแบ่งปันความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ อีกทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ สร้างความเข้าใจในวิธีการออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษา และใช้งาน อย่างเป็นระบบและตรงตามมาตรฐานสากล นำประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ในการงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าใต้ดินแก่บุคลากรที่ทำงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าของประเทศไทย
วัตถุประสงค์
- เพื่อยกระดับความรู้เกี่ยวกับระบบจ่ายไฟด้วยสายใต้ดิน วิธีการทำงานกับสายใต้ดินและอุปกรณ์ สามารถวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง บำรุงรักษา และใช้งานสายใต้ดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เพื่อสร้างความเข้าใจในหลักการและเทคโนโลยีของสายใต้ดินและอุปกรณ์ การทดสอบทางไฟฟ้าและการวิเคราะห์ สมรรถภาพ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับสายใต้ดิน
- เปิดโอกาสให้ปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมทุกคน
หลักสูตรนี้เหมาะสาหรับ
- วิศวกรไฟฟ้า ช่างเทคนิคไฟฟ้า ส่วนงานที่ปรึกษา งานติดตั้ง และงานซ่อมบำรุง
- เจ้าหน้าที่จากการไฟฟ้า และบริษัทผลิตไฟฟ้าต่าง ๆ
- ภาคเอกชน ผู้รับเหมา บุคคลทั่วไปที่มีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้า
คณะวิทยากร
- ดร.อัศวิน ราชกรม – ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้าง การไฟฟ้านครหลวง
- นายสาธิต เจริญธรรม – ผู้อำนวยการกองติดตั้งอุปกรณ์และสายใต้ดิน การไฟฟ้านครหลวง
- นายสถาพร นันทไพบูลย์ – ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบริการผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงเขตวัดเลียบ
- 4. นายชยพิชญ์ ชีช้าง – หัวหน้าแผนกสายใต้ดิน 2 การไฟฟ้านครหลวง
- 5. นายสุรเชษฐ์ นาแพง – ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองบริการงานก่อสร้าง การไฟฟ้านครหลวง
- นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช – รองผู้อำนวยการกองออกแบบระบบไฟฟ้า ฝ่ายงานระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- นายวรวิทย์ บินซาอิ๊ด – หัวหน้าแผนกพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์ กองวิศวกรรมไฟฟ้าและเครื่องกล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- นายณัฐกร สุกระ – หัวหน้าแผนกบำรุงรักษาเคเบิลใต้น้ำและเคเบิลใต้ดิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กำหนดการ
วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566
08.00 – 08.50 น. ลงทะเบียน
08.50 – 09.00 น. พิธีเปิดการอบรม
09.00 – 10.30 น. หลักการ โครงสร้าง เทคโนโลยี และมาตรฐาน สายไฟฟ้าใต้ดินแรงสูง หัวต่อสาย (Joint) และ หัวปลายสาย (Termination)
โดย ดร. อัศวิน ราชกรม
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานของว่าง
10.45 – 11.15 น. ระบบกราวด์สำหรับวงจรสายไฟฟ้าใต้ดินแรงสูง
โดย ดร. อัศวิน ราชกรม
11.15 – 12.00 น. การออกแบบและก่อสร้าง บ่อพักและท่อสายไฟฟ้าใต้ดิน
โดย นายสิริวิชช์ พรพันธ์วัชรเดช
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. การออกแบบวงจรจ่ายไฟระบบไฟฟ้าใต้ดิน และการเลือกใช้สวิตช์ตัดตอน
โดย นายวรวิทย์ บินซาอิ๊ด
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานของว่าง
14.45 – 16.30 น. การออกแบบระบบสายไฟฟ้าใต้ดินสำหรับหมู่บ้านจัดสรร
โดย นายสถาพร นันทไพบูลย์
วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566
09.00 – 09.30 น. การติดตั้ง ทดสอบ ใช้งาน สวิตช์เกียร์ RMU และหม้อแปลงแบบแช่น้ำได้ (Submersible)
โดย นายสุรเชษฐ์ นาแพง
09.30 – 10.30 น. เทคนิค วิธีการวางสายใต้ดิน และความปลอดภัยในการทำงาน
โดย นายสาธิต เจริญธรรม
10.30 – 10.45 น. พักรับประทานของว่าง
10.45 – 12.00 น. เทคนิคและวิธีการทำหัวต่อสาย (Joint) และหัวปลายสาย (Termination) สำหรับ สายไฟฟ้าใต้ดินแรงสูง
โดย นายสาธิต เจริญธรรม
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 น. การทดสอบสายไฟฟ้าใต้ดินที่หน้างาน (ระหว่างติดตั้ง ก่อนจ่ายไฟ และระหว่างใช้งาน)
โดย นายชยพิชญ์ ชีช้าง
14.30 – 14.45 น. พักรับประทานของว่าง
14.45 – 16.30 น. การตรวจสอบ บำรุงรักษา และการหาตำแหน่งชำรุด สายไฟฟ้าใต้ดิน
โดย นายณัฐกร สุกระ