รหัสอบรม:

การอบรมเรื่อง
พื้นฐานการออกแบบสะพานปั้นจั่นและรางวิ่ง
และการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ รุ่นที่ 2
(Design Fundamental of Crane Girder and Runway with Selection of Accessories for of Overhead Crane)
ระหว่างวันที่ 15-16 กันยายน พ.ศ. 2566
เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.
จัดโดย คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่น
ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมัครอบรม คลิก https://forms.gle/Na3DFRUUWz4nmz1x7

หลักการและเหตุผล:
ในปัจจุบัน มีการใช้งานปั้นจั่นเหนือศีรษะเป็นจำนวนมาก โดยมีการจัดทำโครงสร้างเองภายในประเทศ ซึ่งในการออกแบบ เพื่อใช้งานยังไม่มีการเผยแพร่องค์ความรู้ในการออกแบบโครงสร้างและวิธีการเลือกใช้อุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆ ของปั้นจั่นดังกล่าวตามหลักมาตรฐานสากลเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม ทางอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่นเล็งเห็นว่า จะเป็นประโยชน์ในการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้และเทคนิคในการออกแบบเพื่อเป็นการพัฒนาเทคนิควิธีการ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างแนวทางการออกแบบที่ได้มาตรฐาน เป็นประโยชน์กับวงการปั้นจั่นเหนือศีรษะต่อไป

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม:
-เป็นแนวทางในการออกแบบปั้นจั่นเหนือศีรษะตามมาตรฐาน
-เป็นแนวทางในการเลือกใช้อุปกรณ์และส่วนประกอบของปั้นจั่นเหนือศีรษะให้เหมาะสมกับการใช้งานตามมาตรฐาน ISO และ FEM
-เป็นแนวทางในการตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขและป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ งานมากยิ่งขึ้น

กำหนดการ

กำหนดการ เนื้อหาการอบรม หมายเหตุ
15 กันยายน 2566

ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.

08:30 – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 – 12:00 น.
– การเลือกใช้รอกให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
– การเลือกใช้ส่วนประกอบอื่น ๆ ของปั้นจั่นเหนือศีรษะที่เหมาะสม
(ล้อ, ชุดรอก, รางไฟฟ้า, ชุดควบคุม,โครงสร้างประกอบอื่น ๆ)
– กรณีศึกษา และการวินิจฉัยปัญหาเบื้องต้น
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 16:00 น.
– มาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบปั้นจั่นเหนือศีรษะ (FEM, ISO)
– การออกแบบและเลือกใช้ส่วนประกอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
– กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

16:00 – 16:30 น.
ถาม – ตอบข้อสงสัย

16 กันยายน 2566

ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.

08:30 – 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 – 12:00 น.
– ส่วนประกอบและกลศาสตร์พื้นฐานสำหรับปั้นจั่นเหนือศีรษะ
– วิธีการเลือกขนาดของสะพานปั้นจั่น (Crane Girder: I-Beam, Wide Flange, Box)
– วิธีการเลือกขนาดของรางวิ่ง (Crane Runway)
– ฝึกปฏิบัติเลือกขนาดของสะพานปั้นจั่น (Workshop #1) : ใช้เครื่องคำนวณ
12:00 – 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 – 16:00 น.
– ฝึกปฏิบัติเลือกขนาดของสะพานปั้นจั่น (Workshop #2) : ใช้แผนภูมิ (CHART)
– ฝึกปฏิบัติเลือกขนาดของสะพานปั้นจั่น (Workshop #3) : ใช้คอมพิวเตอร์ (EXCEL)
– ฝึกปฏิบัติเลือกขนาดของรางวิ่ง (Workshop #4)
16:00 – 16:30 น.
– สรุปและถาม – ตอบข้อสงสัย
– ทำแบบทดสอบหลังอบรม

คณะวิทยากร

อ.จิรายุ เอี่ยมสมร
  • อนุกรรมการ คณะอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่น
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท โททัล เมคคานิค จำกัด
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทรทัน เมคคานิค จำกัด
  • ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบซ่อมบำรุงปั้นจั่นและผู้เชี่ยวชาญปั้นจั่นเหนือศีรษะ
อ.ธีระพงค์ มีเงิน
  • วิทยากรปั้นจั่น อิสระ
  • วิศวกรตรวจสอบปั้นจั่น และวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น

***วิทยากรและกำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า***

วันที่จัด

15/09/2023

สถานที่จัด

ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.

คุณสมบัติผู้สมัคร

-ผู้จัดการฝ่ายออกแบบและวิศวกรรม
-วิศวกรผู้ออกแบบ
-วิศวกรผู้ตรวจสอบ
-วิศวกรฝ่ายจัดซื้อ
-ช่างบำรุงรักษาผู้ควบคุมงานตรวจสอบปั้นจั่น
-ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับปั้นจั่นเหนือศีรษะ
-ผู้สนใจทั่วไป

จำนวนที่รับ

20 คน (จำนวนที่ว่าง 20 ที่)

ค่าลงทะเบียน

สมาชิิก ราคาปกติ ราคาเมื่อชำระก่อนวันที่
สมาชิก วสท. บาท บาท
ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ บาท บาท
บุคคลทั่วไป บาท บาท

หน่วยงานที่จัด

จัดโดย คณะอนุกรรมการสาขาวิศวกรรมยกหิ้วและปั้นจั่น ในคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

เจ้าหน้าที่ผู้่ดูแล

คุณสราญรัตน์ พงษ์ต้น
Tel:(02)184-4600 ถึง 9 ต่อ 526
E-mail : saranrat@eit.or.th

รายละเอียดและใบสมัคร

แผ่นพับ-ปั้นจั่นเหนือศีรษะ-ปรุับปรุงใหม่-รุ่นที่-2-new-1.pdf