รหัสอบรม:

การอบรมเชิงวิชาชีพเรื่อง

การใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรดอย่างมืออาชีพ: ระดับ 1

รุ่นที่ 31 :  วันที่ 13-16 กันยายน 2566 (วันพุธ-วันเสาร์)
 ห้องประชุม 2 ชั้น 4 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39

                                        แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ

จัดโดย

คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

 

ลงทะเบียน คลิกที่นี่

 

หมายเหตุ:       รับจำนวนจำกัด 24 ท่านแรกที่ชำระเงินเท่านั้น  เนื่องจากมีภาคปฏิบัติ

                   หากเกิน จะต้องรอเข้ารุ่นต่อไป

 

หลักการและเหตุผล

เทคโนโลยีภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรด (Thermography) เป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย (Nondestructive testing: NDT) วิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในงานด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ใน ประเทศไทยได้มีการใช้เทคโนโลยีนี้ในกิจการที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเป็นงาน Predictive/Preventive maintenance ของระบบต่างๆ เช่น งานตรวจสอบระบบไฟฟ้า งานอนุรักษ์พลังงาน งานตรวจสอบอาคาร อาคารเขียว งานเทคนิคในกระบวนการผลิต และงานตรวจสอบ วิเคราะห์ที่มีเรื่องของอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ในปัจจุบันบุคลากร ที่ใช้งานและเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และหลักการใช้งานที่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้งานอย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานที่ยอมรับทั่วไป ดังนั้นวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จึงร่วมกับ บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด จัดทำหลักสูตรอบรมนี้ขึ้นเพื่อให้วิศวกร สถาปนิก แพทย์ ช่างเทคนิค นักวิทยาศาสตร์และ ผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้ารับการอบรมเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรดได้อย่างถูกต้อง ระดับมืออาชีพ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญชาวไทย โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปเข้ารับการฝึกอบรมด้วยภาษาอังกฤษในต่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายโดยรวมค่อนข้างสูง

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรของ วสท. จะได้เรียนรู้ ทฤษฎีของคลื่นอินฟราเรด หลักการถ่ายภาพความร้อนเพื่อให้บันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง การวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนการประยุกต์ใช้กับงานแต่ละชนิด/ประเภท โดยผู้ที่เข้าอบรมครบตามระยะเวลาที่กำหนดจะต้องผ่านการทดสอบประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะได้รับวุฒิบัตรของการอบรมของหลักสูตรนี้

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นทางเทคนิคและความเป็นกลางโดยไม่โน้มเอียงต่อผลิตภัณฑ์ใด ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้เข้าอบรมที่มีกล้องถ่ายภาพความร้อน หรือมีใช้ในหน่วยงาน ให้นำกล้องถ่ายภาพความร้อนมาใช้ในระหว่างการอบรมได้ โดยไม่จำกัดรุ่นและผลิตภัณฑ์

กำหนดการ

กำหนดการ เนื้อหาการอบรม หมายเหตุ
วันพุธที่ 13 กันยายน 2566

09.00-12.00        การวัดอุณหภูมิ

  • นิยามและคำสำคัญ
  • หลักการของเครื่องมือวัดอุณหภูมิ
  • การประยุกต์ใช้งานของเครื่องมือวัดชนิดต่าง ๆ
  • หลักการของเครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดอินฟราเรด

พื้นฐานฟิสิกส์ทางความร้อน

  • สสารและสถานะ
  • นิยามและหลักการของพลังงาน
  • อุณหภูมิและพลังงานความร้อน
  • กฎของเทอร์โมไดนามิกส์

โดย รศ. ดร.ทวีพล ซื่อสัตย์

13.00-16.00        ความร้อนและทฤษฎีการถ่ายเทความร้อน

  • นิยามความร้อนและการถ่ายเทความร้อน
  • หลักการนำความร้อน
  • กฎของฟูเรียร์ (Fourier’s law)
  • การประยุกต์ใช้หลักการน าความร้อนในภาพความร้อน
  • ทดสอบการวัดตามหลักการนำความร้อน ด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน การพา

ความร้อน

  • หลักการพาความร้อน
  • Newton’s law of cooling
  • การประยุกต์ใช้หลักการพาความร้อนในภาพความร้อน
  • ทดสอบการวัดตามหลักการพาความร้อนด้วยกล้องส่องภาพความร้อน

โดย รศ. ดร.นวภัทรา หนูนาค

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566

09.00-12.00        การแผ่รังสีความร้อน

  • คุณสมบัติการแผ่ (Emissivity)
  • การสะท้อน (Reflectivity)
  • การส่งผ่านรังสี (Transmittivity)
  • การเคลื่อนที่ผ่านของรังสีอินฟราเรดในชั้นบรรยากาศ
  • ทดสอบผลกระทบของคุณสมบัติการแผ่และการสะท้อนด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

โดย รศ. ดร.นวภัทรา หนูนาค

13.00-16.00        เครื่องมือวัดอินฟราเรดและกล้องถ่ายภาพความร้อน

  • หลักการทำงานของเครื่องมือวัดอินฟราเรดและกล้องถ่ายภาพความร้อน
  • โครงสร้างของเครื่องมือวัดอินฟราเรดและกล้องถ่ายภาพความร้อน
  • การปรับค่าเพื่อการใช้งานที่ถูกต้อง โฟกัส (Spatial focus และ Thermal focus)

Level, Span, Brightness, Contrast Dynamic range

  • Distance to Spot Ratio (D:S)

การทดลองปรับภาพด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน และฟังก์ชั่นต่างๆ ในกล้องถ่ายภาพ

ความร้อน

โดย ดร. คุณธีระวัฒน์ หนูนาค

 

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2566

09.00-16.00        ข้อมูลทางเทคนิคเบื้องต้นสำหรับการเลือกใช้งานกล้องถ่ายภาพความร้อน

  • Distance to Spot Ratio (D:S)
  • Field of View (FOV)
  • Instantaneous Field of View (IFOV)
  • Instantaneous Measurement Field of View (IMFOV)

การสอบเทียบเครื่องมือวัดอินฟราเรดและกล้องถ่ายภาพความร้อน

การบำรุงรักษากล้องถ่ายภาพความร้อน

การทดสอบความสามารถของกล้องจากผลของ Thermal Sensitivity หรือ NETD

การทดลองผลกระทบของผิวและสีด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนจากแบบจำลอง

การทดลองผลกระทบของระยะและมุมในการถ่ายภาพความร้อน

โดย ดร.ธีระวัฒน์ หนูนาค

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566

09.00-10.30        การประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนอินฟราเรดในงานประกันภัยทรัพย์สิน

โดย คุณศุภชัย บัวเจริญ

10.30-15.30        การบำรุงรักษาเชิงป้องกันด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน

การวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อน,        การจัดทำรายงานภาพถ่ายความร้อน

การประยุกต์ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนชนิดอินฟราเรด

  • การตรวจสอบระบบไฟฟ้า
  • การตรวจสอบระบบทางกล
  • ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และในทางการแพทย์

โดย ดร.ยุทธพงศ์ ทัพผดุง

15.30-16.30         สอบวัดผล

16.30 น.         ปิดการอบรมฯ

หมายเหตุ:       C  พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30-10.45 น. และ 14.30-14.45 น. (โดยประมาณ)

คณะวิทยากร

13-16/9/2566 การใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรดอย่างมืออาชีพ: ระดับ 1 รุ่นที่ 31
คณะวิทยากร

วิทยากร

รศ.ดร.ทวีพล ซื่อสัตย์      ผู้เชี่ยวชาญด้าน Infrared Thermography สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม

คณะวิศวกรรมศาสตร์     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค  ผู้เชี่ยวชาญด้าน Thermal Engineering สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

คณะวิศวกรรมศาสตร์     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ดร.ยุทธพงศ์ ทัพผดุง       รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ดร.ธีระวัฒน์ หนูนาค      Level II Thermographer, Marketing Director, IR and PQ Product      Specialist, บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด

คุณศุภชัย บัวเจริญ       Senior Risk Consultant

บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

วันที่จัด

13/09/2023

สถานที่จัด

วสท. ชั้น 4

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้ที่ควรเข้ารับการอบรม
• วิศวกร ช่างเทคนิค ที่ดูแลบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องกลทุกประเภท
• วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ช่างเทคนิคที่งานเกี่ยวกับพลังงาน
• วิศวกร สถาปนิก ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ทำงานเกี่ยวกับอาคารเขียวและอาคารทั่วไป
• พนักงาน บริษัทวิศวกรที่ปรึกษา
• เจ้าหน้าที่บริษัทประกันวินาศภัยทุกระดับ

จำนวนที่รับ

24 คน (จำนวนที่ว่าง 24 ที่)

ค่าลงทะเบียน

สมาชิิก ราคาปกติ ราคาเมื่อชำระก่อนวันที่ 04 ก.ย. 66
สมาชิก วสท. บาท บาท
ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ บุคคลทั่วไป บาท บาท

หน่วยงานที่จัด

วสท.

เจ้าหน้าที่ผู้่ดูแล

นพมาศ ปิ่นสุวรรณ

รายละเอียดและใบสมัคร

ภาพถ่ายความร้อนอินฟราเรด-level1-รุ่น-31.pdf