รหัสอบรม:

การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง midas nGen รุ่นที่ 5
วันที่ 1-2 เมษายน พ.ศ.2566 (เสาร์-อาทิตย์)
เวลา 09.00 – 17.00 น.  ณ ห้องอบรม BIM LAB ชั้น 3 อาคาร วสท.
จัดโดย   สถาบัน BIM ใน วสท. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
***(หลักสูตรนี้อยู่ในการกำกับดูแลโดย อาจารย์กิตติ  บุญแสง)***

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling Technology) ในส่วนของวิศวกรออกแบบโครงสร้าง มี 2 แนวทาง แนวทางที่คุ้นเคยกันอยู่ในปัจจุบัน คือ “รอ”โมเดล 3 มิติ จากสถาปนิก ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างแบบจำลอง และการแก้ไข ที่ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับวิศวกรออกแบบโครงสร้างโดยเฉพาะ midas nGen จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะทำให้การสร้างแบบจำลองที่ไม่ต้อง “รอ” เป็นอีก 1 แนวทางที่น่าสนใจ คือสามารถทำงานพร้อมกับสถาปนิก โดยเริ่มงานสร้างแบบจำลองจาก แบบเบื้องต้น (Preliminary) จากนั้นเมื่อกระบวนการทำงานของวิศวกรออกแบบโครงสร้าง เสร็จสมบูรณ์ ก็ยังสามารถส่งแบบจำลอง 3 มิติ ไปทำงานร่วมกับ สถาปนิก และ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ได้
โปรแกรม midas nGen เป็นโปรแกรมประเภทวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างจากประเทศเกาหลีใต้ โปรแกรมมีความสามารถสูงเนื่องจากเป็นโปรแกรมคำนวณแบบ 3มิติ สามารถออกแบบได้ทั้งเหล็ก STEEL ,คอนกรีตเสริมเหล็ก RC ตัวโปรแกรมมีดีไซด์โค้ดมากมายให้เลือกใช้ครอบคลุมทุกทวีป
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่า โปรแกรมนี้สามารถนำมาใช้ในการประวิชาชีพในงานก่อสร้างได้ จึงได้เรียนเชิญ ผู้เชี่ยวชาญในในการใช้โปรแกรม มาสอบวิธีใช้งานโปรมแกรมที่ถูกต้อง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการ และแนวทางในการใช้โปรแกรม

สมัครเข้าอบรมคลิ๊กที่นี้ >>https://forms.gle/4zGDAN769tF4fTEs6

กำหนดการ

กำหนดการ เนื้อหาการอบรม หมายเหตุ
วันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566

ลงทะเบียน 08.30
เริ่มบรรยาย เวลา 09.00 น.
Introduction Midas nGen
1.Basic Finite Element ( FEM )
1.1 การเริ่มต้นทำความเข้าใจ FEM เบื้องต้น
1.2 การทำความเข้าใจลักษณะของ จุดต่อ ต่างๆของชิ้นส่วน Node , Member , Pate
1.3 การทำความเข้าใจชนิดชิ้นส่วนอาคารหลัก Type of Member
– Beam , PateBeam ,SubBeam
– Column , Wall Column
– Wall membrane , Wall Pate Meshed
– Slab membrane , Slab pate -out-in
– Flat slab
-Isolated Footing , Mat Footing
– Pile spring
2.Basic Modelling of Define gird
2.1 New project
2.2 Project information กรอกข้อมูลอาคาร ชื่อ วิศวกรออกแบบ รายละเอียดโครงการ, อื่นๆ
2.3 Design Code ACI-318 , LRFD ,ASD
2.4 Section member , Material Concrete(KS) , Steel ( TIS )
2.5 เริ่มจำลองโดยวิธีกำหนด Gird line
2.6 จำลองชิ้นส่วนอาคาร Structure Model คสล. 5 ชั้น Column , Beam , SubBeam , Slab ,Opening , Footing , Pile , etc
2.7 ทำความเข้าใจคำสั่งช่วย Model ต่างๆ Copy ,Move, Rotate, Merge , Generate ,etc
2.8 Mesh side ( การแบ่งขนาด Element )
เวลา 12.00- 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
3. การกำหนดแรงและวิธีการใส่แรงกับโครงสร้าง Static load set and Method of loading
3.1 Self Weight
3.2 Point load
3.3 Beam Load
3.4 Pressure load
3.5 Slab load
3.6 Arbitrary Load
3.7 Wind Load ( ASCE7-05 )
4. Boundary
4.1 Type of Support , Fixed , Pin , Roller
4.2 Pile Support , Soil Support
4.3 Diaphragm ( wind , seismic )
5. Load Combinations
5.1 สร้างอัตโนมัติ Auto Generation case ACI 318
5.2 Strength(General) , Serviceability (General)
5.3 กำหนดเอง User define
6.Analysis Run analysis and show Result
7. Designed Member
7.1 Setting and Designed Group
7.2 Designed Case
7.3 Run Designed
8.Report & Drawing

บรรยายโดย นายมัทนะ วิริยะนุเคราะห์
วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566

เริ่มบรรยาย เวลา 9.00 น.
1.Tracing File
1.1 ตรียมไฟล์ DWG
1.2 Structure model
1.3 การสร้าง Tracing ใน Midas Drawing
1.4 การเข้าไฟล์ ใน Midas nGen
1.5 การนำเข้าไฟล์ ฐานรากและเสาเข็ม Import file
2. การสร้าง Story Data
2.1 กำหนดแบบแปลนแต่ละชั้นของอาคาร Story set
3. จำลองชิ้นส่วนอาคาร Structure Model คสล. 8 ชั้น
3.1 Column , Beam SubBeam , Slab ,Opening , Footing , Pile , etc
4.Static load set and Method of loading
5.Boundary
6.Load Combinations
7.Analysis
8.Designed
9.Report & Drawing A .จำลอง Model ตัวอย่างอาคาร 30 ชั้น ด้วยวิธี Tracing File

เวลา 12.00- 13.00 น. พักรับประทานอาหาร

1. Introduction Equivalent Static seismic and Response Spectrum ( RSA )
1.1 ข้อกำหนดเบื้องต้นในการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหว
1.2 หลักในการออกแบบแผ่นดินไหว ด้วยวิธี RSA ตามมาตรฐาน มยภ 1302-61
1.3 การพิจาราณาข้อมูล parameter , Sd1 ,Sds , TL , R , etc ตามมาตรฐาน มยภ 1302-61
1.4 วิธีการอ่านค่า Base shear Equivalent Static และ Base shear Response Spectrum ( RSA )
ด้วยโปรแกรม Midas nGen เพื่อพิจาราณา การเพิ่มลดค่า Scale factor
1.5 ตารางสรุปค่าต่างๆ Response Spectrum ( RSA )

บรรยายโดย คุณกิตติ บุญแสง

คณะวิทยากร

นาย มัทนะ วิริยะนุเคราะห์ 

สามัญวิศวกรโยธา ( CEO )  BOSCO CONSULTANTS., LTD

 

นายกิตติ บุญแสง

วุฒิวิศวกรโยธา ( CEO )  Umbau., LTD

วันที่จัด

01/04/2023

สถานที่จัด

ณ ห้องสถาบัน BIM ใน วสท. ชั้น 3 อาคาร วสท.

คุณสมบัติผู้สมัคร

วิศวกร สถาปนิก ผู้ออกแบบ หรือผู้ที่ต้องการพัฒนาศักยภาพในการใช้โปรแกรมการออกแบบงานก่อสร้าง และ ยกระดับการทำงานให้สามารถทำงานในรูปแบบ ทีม BIM และ ลดข้อขัดแย้งระหว่างวิชาชีพ

จำนวนที่รับ

30 คน (จำนวนที่ว่าง 30 ที่)

ค่าลงทะเบียน

สมาชิิก ราคาปกติ ราคาเมื่อชำระก่อนวันที่ 28 มี.ค. 66
สมาชิก วสท. บาท บาท
บุคคลทั่วไป บาท บาท

หน่วยงานที่จัด

สถาบัน BIM ใน วสท. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

เจ้าหน้าที่ผู้่ดูแล

ชฎาพร พงษ์อิ่ม
Tel:(02)184-4600 ถึง 9 ต่อ 538, FAX:(02)184-4662
E-mail : chadaporn.eit@gmail.com

รายละเอียดและใบสมัคร

ร่าง-โปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง-midas-nGen-_-midas-Gen-5.pdf

รหัสอบรม:


ที่อยู่สำหรับการจัดส่งเอกสาร