รหัสอบรม:
การอบรมเรื่อง
ผู้ตรวจสอบรอกมือสาวและรอกโยก ตามมาตรฐานสากล รุ่นที่ 6
(Inspection & Preventive Maintenance
of Manual Hoist in International Standard)
วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
เวลา 09:00 – 16:30 น. ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.
เพิ่มเนื้อหา
แนวทางการทดสอบรอกและการจัดทำคู่มือรอก ตามกฎหมายใหม่
สมัครอบรมคลิก https://forms.gle/b6vqqh6wAA6kwfii6
หลักการและเหตุผล:
รอกมือสาวและรอกโยก เป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานค่อนข้างหลากหลายรูปแบบ ทั้งในงานอุตสาหกรรมการผลิต งานก่อสร้าง งานติดตั้ง เคลื่อนย้าย การขนส่ง การยึดเกาะวัสดุ เนื่องจากการใช้งานนั้นสามารถตอบสนองการใช้งานได้เทียบเคียงกับรอกโซ่ไฟฟ้าในการยก
โดยไม่ต้องใช้ระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง และยังมีจุดเด่น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัว ดังนี้
1.ขนาดที่กะทัดรัดทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายและนำไปใช้ในพื้นที่จำกัดได้เป็นอย่างดี
2.สามารถปรับ เพิ่ม-ลดระยะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียดสูงได้ดี
3.ลดความเสี่ยงจากการเกิดประกายไฟเนื่องจากการทำงานของระบบไฟฟ้า
4.เหมาะสำหรับงานติดตั้ง, ซ่อมบำรุง, งานปรับระดับเครื่องจักร งานโครงสร้าง และงานยึดเกาะวัสดุ
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 หมวด 1 เครื่องจักร ส่วนที่ 7 รอก ได้มีข้อกำหนดสำหรับนายจ้างที่มีการใช้รอกโยก รอกมือสาว รอกหางปลา รอกไฟฟ้าหรือรอกที่ใช้พลังงานอื่น หรือรอกชนิดอื่นที่มีการใช้งานลักษณะเดียวกัน จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้งาน การตรวจสอบ และการทดสอบ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงฉบับนี้และเพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นในปัจจุบัน รอกมือสาวและรอกโยกได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งการใช้งานในระยะยาวและการใช้งานแบบชั่วคราว ซึ่งต้องมีการเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะงานอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน, แนวทางการตรวจสอบอุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆ ของรอกมือสาวและรอกโยกดังกล่าว
ในการจัดทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เพื่อให้รอกมือสาวและรอกโยกให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยนั้น จำเป็นที่ผู้ตรวจสอบและผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ข้อกำหนดจากคู่มือ, มาตรฐานต่าง ๆ, เทคนิควิธีการในการตรวจสอบและการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถวิเคราะห์สาเหตุ ปัญหา ความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของอุปกรณ์ดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม:
– เพื่อให้เข้าใจถึงหลักกลไกการทำงานของอุปกรณ์เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม
– เป็นแนวทางในการตรวจสอบรอกมือสาวและรอกโยกตามคู่มือผู้ผลิตและตามมาตรฐานต่าง ๆ
– เป็นแนวทางในการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) สำหรับรอกมือสาวและรอกโยก
– ศึกษาแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรอกมือสาวและรอกโยกจากมาตรฐานที่แตกต่างกัน
– เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการแก้ไขและป้องกันให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น