อาคารที่มีเสียงลั่นเป็นระยะๆ พร้อมกับมีคอนกรีตร่วง แสดงว่าโครงสร้างของอาคารเริ่มแบกภาระไม่ไหว รอยต่อของโครงสร้างจะเริ่มแยกขาดจากกัน และถ้ารอยต่อของอาคารขาดจากกันเมื่อใด อาคารจะมีโอกาสพังถล่มค่อนข้างมาก
จากประสบการณ์ที่เคยเข้าไปช่วยกู้ภัยหลายครั้ง พบเห็นอาคารที่พังถล่มมีตำแหน่งขาดตรงรอยต่อของโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่
เสียงลั่นของอาคารเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกให้อพยพคนออกจากอาคารเป็นการด่วน รวมถึงไม่ควรเข้าไปในอาคารที่ยังมีเสียงลั่นอยู่ สำหรับการจะเข้ากู้ภัยควรรอให้อาคารเกิดการแตกหักในระดับหนึ่งแล้วเกิดสมดุลใหม่ก่อน จึงจะเข้าไปภายในได้ ซึ่งตรงนี้ควรมีการตรวจวัดการขยับตัวตลอดเวลา
ในเบื้องต้นที่ยังเข้าอาคารไม่ได้ สามารถจำแนกหาตำแหน่งชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นในอาคารได้จากสภาพแตกร้าวที่ปรากฏภายนอกอาคาร ดังเช่นอาคารที่แสดงรูปประกอบมานี้ เป็นอาคาร 3 ชั้นจำนวน 7 ห้อง เมื่อดูรอยแตกร้าวจะพบเป็นรอยแตกเฉียงห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 เป็นรอยแตกเฉียงซึ่งมีทิศทางกลับทิศทางกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าห้องที่อยู่ตรงกลางมีการขยับยุบตัวลง ซึ่งอาจเกิดจากฐานรากทรุดตัวหรือเสาอาคารห้องที่อยู่บริเวณส่วนกลางระหว่างห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 ระเบิดออก
เมื่อนำกล้องสำรวจมาส่องเพื่อดูการขยับตัว โดยตรวจวัดการขยับตัวที่ห้องตรงกลางระหว่างห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 พบว่ามีการทรุดตัวในช่วง 15 นาทีแรกวัดการทรุดตัวได้ 0.7 มม และอีก 15 นาทีต่อมาตรวจวัดอีกครั้ง พบว่าทรุดตัวลงเพิ่มอีก 1 มม. ผลตรวจวัดในเบื้องต้นดังกล่าวนี้แสดงว่าอาคารขยับยุบตัวหรือทรุดตัวลงเร็ว
ผลจากการวิเคราะห์รอยร้าวดังกล่าวทำให้สามารถบ่งบอกได้ว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งที่เกิดปัญหา และทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถกำหนดตำแหน่งสำรวจได้ตรงจุดของปัญหาที่เกิด
ลักษณะรอยแตกร้าวของอาคารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอาคารวิบัติได้
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) กำลังดำเนินการประสานกับทีมงาน เพื่อสรุปหาสาเหตุที่อาคารพังถล่ม เพื่อจัดเสวนานำเรื่องดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาอีกกรณีหนึ่ง
4 เมษายน 2564 (เมื่อวานนี้) วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) โดย รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก และทีมวิศวกร ลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ และถล่ม ที่หมู่บ้านกฤษดานคร ถนนบรมราชชนนี พร้อมให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน จากการตรวจสอบ สรุปได้ดังนี้
การยุบตัวลงมาของอาคารสูง 3 ชั้น ขนาดใหญ่ จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนหลายรายนั้น ในเบื้องต้นขอให้แน่ใจก่อนว่าขณะเกิดอัคคีภัยในอาคารนั้น หากวัสดุติดไฟส่วนใหญ่เป็นกระดาษ หรือเสื้อผ้า ที่นอนหมอนมุ้ง ขณะเกิดไฟลุกเต็มที่อาจมีความร้อนตั้งแต่ 400 องศาเซลเซียสขึ้นไปจนถึง 500 องศาเซลเซียส อาคารนี้ก่อสร้างด้วยวัสดุที่เรียกว่าคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งคุณสมบัติของคอนกรีต ทราบกันดีว่ามีความแข็งแรง มีอัตราการทนไฟได้มากชั่วโมง ส่วนเหล็กเสริมที่อยู่ภายในเนื้อคอนกรีตนั้น ถึงแม้ว่าจะไม่ติดไฟ แต่จะมีอัตราทนไฟได้น้อยกว่าคอนกรีต จึงต้องฝังไว้ให้ทำงานภายในเนื้อคอนกรีต ที่มีระยะหุ้มมากพอที่จะหน่วงความร้อนให้ผ่านคอนกรีตเข้าไปถึงเหล็กเสริมยาก
อย่างไรก็ตาม วัสดุต่าง ๆ เมื่อโดนไฟเผาด้วยอุณหภูมิสูง ๆ และใช้เวลานาน ๆ ความร้อนจะทำให้คุณสมบัติที่ดีของคอนกรีตลดลง กำลังรับแรงอาจลดต่ำลง สูญเสียความแข็งแรง อาจมีการเปลี่ยนรูป เช่น มีการโก่งงอ ตกท้องช้าง หรือบิดเบี้ยว ความคงทนหรือเรียกว่า Durability ก็จะลดลงตามการเชื่อมประสาน (Bonding Agent) จะถูกความร้อนทำให้ระเหยหายไป คอนกรีตจะแปรสภาพกลับไปเป็นวัสดุหินทรายดังเดิม (จากการจับดูเนื้อคอนกรีตจะเป็นลักษณะยุ่ย ๆ) เกิดจากการแยกตัว จะเห็นการแตกร้าวของชิ้นส่วนโครงสร้าง เหล็กเสริมภายในจะสัมผัสโดยตรงกับความร้อน และยืดตัว ทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้าง เช่น พื้น คาน เสา แอ่น หรือโก่งตัว ยิ่งเกิดมากเท่าไรจะเกิดการดึงรั้งที่จุดต่อกับส่วนอื่น ทำให้ชิ้นส่วนเกิดการแยกตัว หรือแอ่นตัวมากขึ้น เกิดการแตกร้าว และหลุด หรือขาดออกจากกัน คอนกรีตเป็นวัสดุแข็งก็จริง แต่มีความเปราะ จึงพังลงอย่างทันทีทันใด
ก่อนจะถึงจุดนี้จะมีสัญญาณเตือนอยู่พอสมควร เพราะโครงสร้างอาคารไม่ได้อยู่โดด ๆ มี่ชิ้นส่วนอื่น ๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น ผนังก่ออิฐ ประตู หน้าต่าง เป็นต้น ดังนั้น เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ จะเห็นรอยแยกต่าง ๆ ระหว่างผนัง หรือประตูกับโครงสร้างเกิดขึ้น และยิ่งโครงสร้างเปลี่ยนรูปมากเท่าไร สัญญาณดังกล่าวก็จะเพิ่มมากขึ้น ๆ บางครั้งอาจมีเสียงลั่นที่เกิดจากการขาดหรือหลุดจากกันบางส่วน เป็นสัญญาณเตือนก่อนที่จะพังถล่ม ในตัวโครงสร้างของอาคารอาจมีบางจุดที่อ่อนแอ หรือไม่สมบูรณ์ การหลุดหรือขาดจากกันเพียงแค่หนึ่งจุดหรือสองจุดเท่านั้น ก็ทำให้เสาอาคารศูนย์เสียเสถียรภาพ และถล่มตามลงมาในที่สุด
วสท. กำลังดำเนินการประสานกับทีมงาน เพื่อสรุปหาสาเหตุที่อาคารพังถล่ม เพื่อจัดเสวนานำเรื่องดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาอีกกรณีหนึ่ง
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ และวิศวกรอาสาเข้าไปสถานที่เกิดเพลิงไหม้ พังถล่มลงขณะอาสากู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือผู้อยู่ในอาคาร
จากเหตุการณ์อาคาร 3 ชั้น ที่เกิดเพลิงไหม้ พังถล่มลงขณะอาสากู้ภัยเข้าไปช่วยเหลือผู้อยู่ในอาคาร เป็นเหตุให้อาสากู้ภัยเสียชีวิตจำนวน 4 ราย เจ้าของอาคารเสียชีวิต 1 ราย
(หมู่บ้านกฤษดานคร 31)
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ และวิศวกรอาสาเข้าไปสถานที่เกิดเหตุตั้งแต่เวลา 09.30 น. ของวันที่เกิดเหตุ (เกิดเหตุเวลาประมาณ 07.15 น. วันที่ 3 เมษายน) ได้ปฏิบัติงานช่วยให้คำแนะนำการค้ำยันโครงสร้าง และการเข้าพื้นที่เสี่ยงในแต่ละตำแหน่งของตัวอาคาร เพื่อเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยสามารถเข้าสืบค้นหาผู้รอดชีวิตและหาตำแหน่งผู้เสียชีวิตในอาคารได้อย่างปลอดภัย ได้ให้คำแนะนำตามหลักปฏิบัติทางด้านวิศวกรรม จนถึงเช้าวันที่ 4 เมษายน สามารถนำร่างผู้เสียชีวิตออกมาได้ทั้งหมด เสร็จสิ้นภารกิจให้ความช่วยเหลือในส่วนดังกล่าวแล้ว
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ด้วย
———————-
▫️วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ หลักนำวิศวกรรม ที่พึ่งประชาชน▫️
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับกองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กทม. กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภาวิศวกร สมาคมตรวจสอบอาคาร เข้าตรวจพื้นที่เกิดเหตุไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับกองควบคุมอาคารสำนักการโยธา กทม. กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภาวิศวกร สมาคมตรวจสอบอาคาร เข้าตรวจพื้นที่เกิดเหตุไฟไหม้เซ็นทรัลเวิลด์
ผู้แทนเข้าร่วมลงพื้นที่ได้แก่ รศ.สิริวัฒฯ์ ไชยชนะ ที่ปรึกษาสมาคม ดร.พิชญะ จันทรานุวัฒน์ เลขาธิการ อาจารย์บุษกร แสนสุข ประธานสาขาวิศวกรรมความปลอดภัยและป้องกันอัคคีภัย อาจารย์จุลดิษย์ จายนียโยธิน กรรมสาขาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย และคณะทำงานวิศวกรอาสาภัยพิบัติ
เบื้องต้นระบุว่าเหตุเพลิงไหม้ สันนิษฐานว่าต้นเพลิงเกิดที่ห้องเครื่อง ชั้นบี 2 ของอาคาร จากการตรวจสอบโครงสร้างของตัวอาคารพบว่ายังคงแข็งแรง เนื่องจากความร้อนไม่ได้กระทบโครงสร้างโดยตรง ประกอบกับช่วงเกิดเพลิงไหม้ เป็นช่วงระยะเวลาไม่นาน
(11 เมษายน 2562)
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ลงพื้นที่ตรวจเหตุไฟไหม้โรงงานไม้กวาด โชคชัย 4 ซอย 54 เพื่อตรวจสอบควมมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ กรรมการสาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสำนักงานเขตลาดพร้าว ลงพื้นที่ตรวจเหตุไฟไหม้โรงงานไม้กวาด โชคชัย 4 ซอย 54 เพื่อตรวจสอบควมมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
(11 เมษายน 2562)
ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อพัฒนาและส่ง เสริมการทำงานด้านวิศวกรรม
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 นางภาวนา อังคณานุวัฒน์ รองผู้ว่าการบริหาร (รวห.) ลงนามในบันทึกความร่วมมือด้านวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรมเพื่อพัฒนาและส่ง เสริมการทำงานด้านวิศวกรรม ร่วมกับ ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยมี นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการพัฒนา โรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน (รวพ.) และ ดร.พิศาล จอโภชาอุดม ประธานสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วสท. ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน ซึ่งมีนายนรินทร์ พุทธนวรัตน์ ผู้อำนวย การฝ่ายพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคลและคุณภาพ (อศค.) กล่าวรายงานความเป็นมาของโครงการ พร้อมด้วยนายเริงชัย คงทอง รองผู้ว่าการระบบส่ง (รวส.) ให้เกียรติร่วม งาน ณ ห้อง 203 อาคารสำนักผู้ว่าการ สำนักงานใหญ่ กฟผ.
นางภาวนา อังคณานุวัฒน์ รวห. กล่าวว่า กฟผ. มีการพัฒนาบุคลากรตามแนวทางในการสร้างคนเก่ง คนดี การลงนามร่วมกันในครั้งนี้ จึงถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะบุคลากร กฟผ. จะได้รับความรู้จากบุคลากรของ วสท. เพื่อพัฒนาความเป็นคนเก่ง เสมือนการติดอาวุธทางปัญญาให้คน กฟผ. เพื่อนำความสามารถดังกล่าวไปขับเคลื่อนองค์การ และ ประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ Thailand 4.0
สำหรับการลงนามในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ความสามารถของบุคลากรทางด้านวิศวกรรม และสร้างมาตรฐานในการทำงานด้านวิศวกรรม อันเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ จะมีการร่วมมือกันใน 4 ด้าน ได้แก่
1.ด้านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพทางวิศวกรรม
2.ด้านการสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรด้านงานวิศวกรรม
3. ด้านการสร้างมาตรฐานวิชาชีพในการทำงานของบุคลากรด้านงานวิศวกรรม และ
4. ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
รศ.เอนก ศิริพานิชกร รายการ เรื่อง “เครนถล่มไซต์ก่อสร้าง ถนนพระราม 3
รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา และประธานคณะกรรมการภัยพิบัติ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ไปสนทนา 2 รายการ เรื่อง “เครนถล่มไซต์ก่อสร้าง ถนนพระราม 3 “
• Nation TV คมชัดลึก 22.15 -23.00 น
ชมสดที่ลิ้ง https://www.facebook.com/nationtv22live/videos/231430537767022/
สนทนากับ คุณหฤษฏ์ ศรีนุกูล คณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั้นจั่นไทย เรื่อง “บทเรียน ‘เครนถล่ม’ ภัยที่อยู่ใกล้ตัว”
สนทนากับ คุณหฤษฏ์ ศรีนุกูล
คณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั้นจั่นไทย
เรื่อง “บทเรียน ‘เครนถล่ม’ ภัยที่อยู่ใกล้ตัว”
คลิก https://youtu.be/NMgwPocgIzU
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จัดงานสรุปผลและขอบคุณกรรมการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างเล่ม 1 และ 2
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดยคณะทำงานมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้าง จัดงานสรุปผลและขอบคุณกรรมการจัดทำมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างเล่ม 1 และ 2 โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ให้เกียรติมอบหนังสือมาตรฐานและเหรียญพระวิษณุกรรมแก่กรรมการทุกท่าน พร้อมกล่าวขอบคุณที่ทุกท่านสละเวลาส่วนตัวร่วมจัดทำมาตรฐานจนเสร็จสมบูรณ์
หากท่านใดสนใจสามารถซื้อหนังสือมาตรฐานความปลอดภัยในงานก่อสร้างเล่ม 1 และ 2 ได้ผ่านช่องทาง
• ร้านหนังสือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ซอยรามคำแหง 39
• สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.eit.or.th
• สั่งซื้อในรูปแบบ E-Book ทางเว็บไซต์ www.eitstandard.com
• สั่งทางโทร. 02 184 4600-9 ต่อ 301 ร้านหนังสือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
(1 กุมภาพันธ์ 2562)
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ตรวจสอบกรณีเหตุเครนล้มในสถานที่ก่อสร้างคอนโดมิเนียม ซอยพระราม 3 ซอย 45 เขตยานนาวา กทม.
จากกรณีเหตุเครนล้มในสถานที่ก่อสร้างคอนโดมิเนียม ซอยพระราม 3 ซอย 45 เขตยานนาวา กทม.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ โดย
• รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ ที่ปรึกษาสมาคม
• รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา และประธานคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติ
• นายวุฒินันท์ ปัทมวิสุทธิ์ ประธานอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้ว และปั้นจั่นไทย
* นายประวิทย์ โตรฐาน รองประธานอนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้ว และปั้นจั่นไทย
• นายหฤษฏ์ ศรีนุกูล อนุกรรมการวิศวกรรมยกหิ้ว และปั้นจั่นไทย
• คณะทำงานวิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับกองพิสูจน์หลักฐาน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางโพงพาง โดยได้แนะนำแนวทางดำเนินการเก็บกู้ซาก งานรื้อถอนสิ่งติดค้างด้านบนอย่างปลอดภัย และแนวทางติดตั้งทางเวอร์เครนที่ได้มาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยในการก่อสร้าง
23 มกราคม 2562