ภาพการอบรม “การตรวจวัดและวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบไฟฟ้า รุ่นที่ 2” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน

ภาพการอบรม “การตรวจวัดและวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระบบไฟฟ้า รุ่นที่ 2” โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ได้แก่
อ.สมเจตน์ ทองคำวงศ์ ดร.ศุภชัย ปัญญาวีร์ ดร.เทพฤทธิ์ ทองชุบ
เนื้่อหาอบรมเป็นเรื่อง
– ขอบเขตของระบบไฟฟ้า
– การอนุรักษ์พลังงานในหม้อแปลงไฟฟ้า
– การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า
– การลดค่าพลังงานไฟฟ้า และค่าพลังไฟฟ้าสูงสุด
– ข้อควรระวังและผลกระทบในการกำหนดมาตรการประหยัดพลังงาน
– ข้อควรพิจารณาในการเลือก ติดตั้ง และใช้งานอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในระบบต่าง ๆ
26 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.
ท่านใดพลาดรุ่นนี้ ติดตามรุ่นต่อไป หรืออบรมเรื่องอื่น ๆ ได้ที่ https://eit.or.th/training

วสท. เข้าร่วมงานแถลงข่าวการเป็นพันธมิตรร่วมจัดประชุมนานาชาติระดับภูมิภาค Water Forum 2023

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) โดย ศ.ดร.ชวลิต รัตนธรรมสกุล กรรมการอำนวยการ เป็นผู้แทนนายก วสท. เข้าร่วมงานแถลงข่าวการเป็นพันธมิตรร่วมจัดประชุมนานาชาติระดับภูมิภาค Water Forum 2023 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ นำโดยท่านเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ และภาคีเครือข่ายด้านน้ำ (คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ สมาคมนักอุทกวิทยาไทย สมาคมการประปาแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดประชุมนานาชาติระดับภูมิภาค Water Forum 2023 รับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งจะจัดในระหว่างวันที่ 13 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

(วสท.) ร่วมกับกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีสำรวจพื้นที่กรณีสะพานกลับรถ ถนนพระราม 2 แตกร้าว

คณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับกรมทางหลวง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สำรวจพื้นที่กรณีสะพานกลับรถ ถนนพระราม 2 แตกร้าว พร้อมให้ข้อเสนอแนะแนวทางการบูรณะสะพานช่วงคอสะพาน แผนระยะยาว ได้แก่
1) การบูรณะโครงสร้างปรับการทรุดตัวของสะพาน โดยใช้วัสดุมวลเบา
2) การปรับผิวจราจรด้านบนสะพาน
3) การซ่อมและอุดรอยต่อของราวสะพานด้วยวัสดุยืดหยุ่น
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2566
 

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED)” โดยได้รับเกียรติจากคุณนพดล ชิวปรีชา Business Development Executive, Thailand – Public Safety บริษัท โซลล์ เมดดิคอล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (CPR) ให้สามารถช่วยเหลือตนเอง และบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล และสามารถใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ได้อย่างถูกวิธี
วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม อาคาร วสท.

   

(วสท.) โดยคณะกรรมการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาพันธ์วิศวกรอาเซียนรอบกลางปี ครั้งที่ 22 (22th AFEO Midterm Meeting 2023)

ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดยคณะกรรมการต่างประเทศ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาพันธ์วิศวกรอาเซียนรอบกลางปี ครั้งที่ 22 (22th AFEO Midterm Meeting 2023) นำโดย รศ.ดร.อุรุยา วีสกุล ประธานคณะกรรมการต่างประเทศ และคณะกรรมการฯ เป็นการประชุมสมาพันธ์วิศวกรอาเซียน หรือ ASEAN Federation ASEAN Federation of Engineering Organizations (AFEO) รวม 10 ประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในด้านงานวิศวกรรมระหว่างภูมิภาคอาเซียน อาทิ Environmental / Energy / Education and Capacity Building / Disaster Preparedness / Transportation and Logistic / Sustainable Cities /
และ กำหนดทิศทางการตรวจสอบ ด้าน Electrical / Boiler / Building / EI Manufacturing
ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2566 ณ Grand Fortune Hotel Bangkok

 

วิศวกรรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)จัดการอบรม “การจัดการความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า รุ่นที่ 1”

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566
วิศวกรรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) โดยคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย จัดการอบรม “การจัดการความปลอดภัยยานยนต์ไฟฟ้า รุ่นที่ 1”
เป็นเรื่องความรู้พื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้า มาตรฐาน และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่ และระบบการจัดการพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ความปลอดภัยในการทำงานประกอบแบตเตอรี่แรงดันสูง ความปลอดภัยในการทำงานระบบไฟฟ้าแรงดันสูง การใช้งานอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การตอบสนองกรณีเกิดอุบัติเหตุ กรณีศึกษาอันตรายจากแรงดันไฟฟ้า
ดูหัวข้ออบรมทั้งหมดได้ที่ https://eit.or.th/training/
  

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการวิศวกรอาวุโส วสท. จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษเรื่อง “เทคโนโลยีโดรนกับงานวิศวกรรม”

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการวิศวกรอาวุโส วสท. จัดกิจกรรมการบรรยายพิเศษเรื่อง “เทคโนโลยีโดรนกับงานวิศวกรรม” วิทยากรผู้ร่วมบรรยายได้แก่
คุณสมพัสตร์ สุวพิศ
ประธานคณะกรรมการผู้จัดทำมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม วสท.
รองศาสตราจารย์วิชัย เยี่ยงวีรชน กรรมการผู้จัดทำมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม วสท.
คุณสิทธิโชค เหลาโชติ
กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการสาขาภาคตะวันตก วสท.
คุณอัศวรรณ์ เรืองชู
ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาภาคตะวันตก วสท.
โดยมีที่ปรึกษาและกรรมการวิศวกรอาวุโส เข้าร่วมรับฟัง

    

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เข้าพบนายไพบูลย์ อังคณากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน) เพื่อเชิญร่วมสนับสนุนการจัดงาน และร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2566

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดย รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา และรองประธานจัดงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 และนางสาวอรัญญา ขาวสุวรรณ ผู้จัดการ วสท. เข้าพบนายไพบูลย์ อังคณากรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาซีฟา จำกัด (มหาชน) เพื่อเชิญร่วมสนับสนุนการจัดงาน และร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2566 ระหว่างวันที่ 1-3 พฤศจิกายน 2566
17 กรกฎาคม 2566

ภาพบรรยายกาศการอบรม “ทบทวนความรู้พื้นฐานวิศวกรรมด้านวิศวกรรมโยธาเพื่อเลื่อนระดับวิชาชีพ รุ่นที่ 19” เมื่อวันที่่ 12-14 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ภาพบรรยายกาศการอบรม “ทบทวนความรู้พื้นฐานวิศวกรรมด้านวิศวกรรมโยธาเพื่อเลื่อนระดับวิชาชีพ รุ่นที่ 19” เมื่อวันที่่ 12-14 กรกฎาคมที่ผ่านมา
มีผู้ร่วมอบรมกว่า 70 คน
ท่านที่พลาดรุ่นนี้ รุ่นต่อไปกำหนดจัดประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม รอติดตามนะคะ

รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้ลงพื้นที่เกิดเหตุอีกครั้งร่วมกับคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน และคณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั้นจั่นไทย

จากเหตุการณ์การวิบัติของโครงสร้างสะพานขณะก่อสร้าง โครงการ “ก่อสร้างทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง” เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมตามที่ทราบแล้วนั้น
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 10 และ 11 กรกฎาคม 2566 ได้แก่ ผู้แทนคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน ภายใต้คณะกรรมการสาขาวิศวกรรรมโยธา และคณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั้นจั่นไทย ภายใต้คณะกรรมการสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสำรวจความเสียหายต่าง ๆ
และเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ได้ลงพื้นที่เกิดเหตุอีกครั้งร่วมกับคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน และคณะอนุกรรมการยกหิ้วและปั้นจั่นไทย ตามคำร้องขอของสถานีตำรวจนครบาลจรเข้น้อย โดยได้ให้ความเห็นเบื้องต้น และจะขอแบบก่อสร้างจากกรุงเทพมหานคร บันทึก รายงานประจำวันต่าง ๆ ในการทำงาน ซึ่งจะมีรายละเอียดทางวิศวกรรมต่าง ๆ โดยจะนำมาวิเคราะห์ และประชุม เพื่อสรุปให้ทราบต่อไป
ลิงก์ข่าวที่เกี่ยวข้อง