กรณีการเกิดเหตุถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระเบิด
นางสาวบุษกร แสนสุข เลขาธิการ และประธานสาขาวิศวกรรมป้องกันอัคคีภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และนายสุรเชษฐ์ สีงาม ประธานสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย ให้ความเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับถังดับเพลิงแก่สื่อมวลชนถึงเหตุการณ์นี้
???? ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จะต้องมีมาตรฐานรับรอง มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วน มีอุปกรณ์ Safety Valve ระบายความดันเกิน มีการตรวจสอบดูแล บำรุงรักษา ให้อุปกรณ์อยู่ในสภาพปกติ ซึ่งถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะมีความดันภายในมากกว่า 850 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi) เมื่อครบ 5 ปีจะต้องมีการอัดทดสอบความดันน้ำ Hydrostatic Test ซึ่งจะทดสอบการทนความดันสูงถึง 3,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (psi)
กับคำถามที่ว่าถังดับเพลิงชนิดก๊าซ
▫️คาร์บอนไดออกไซด์ตากแดดได้ไหม?
ก็เป็นปกติที่ก๊าซจะขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และความดันภายในถังก็จะสูงขึ้น แต่ถ้าถังอยู่ในสภาพปกติจะสามารถทนความดันได้ โดยจะมีอุปกรณ์ระบายความดันทำหน้าที่ระบายออกเมื่อความดันสูงมาก จะไม่ทำให้ระเบิดได้ง่าย แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูง หรือตากแดดตากฝนนาน ๆ ก็จะทำให้ถังดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบจะมีอายุการใช้งานสั้นลง
▫️ประเด็นที่ควรใส่ใจเมื่อมีใช้งาน ก็คือ
การตรวจสอบดูแลบำรุงรักษาตามรอบ ตามความถี่ ที่ผู้ผลิตและมาตรฐานแนะนำ เพื่อให้ชุดถังและอุปกรณ์ประกอบอยู่ในสภาพปกติ สายดับเพลิงไม่แตกลายงา กระบอกฉีดไม่ชำรุดบุบ แตก ข้อต่อจุดต่อแน่นไม่หลุดหลวม ตัวถังและอุปกรณ์ไม่เป็นสนิมไม่ผุกร่อน ต้องการตรวจสอบและบันทึกผลการตรวจสอบเป็นประจำ ยังมีรายละเอียดตรวจสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก เพื่อให้พร้อมใช้งานในการดับเพลิง เช่น การตรวจสลัก การตรวจก้านหรือคันบีบฉีดสาร การตรวจสอบ ปริมาณสารที่บรรจุในถังดับเพลิงด้วยการชั่งน้ำหนักสำหรับสารดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าเป็นถังดับเพลิงชนิดอื่น ๆ ก็จะมีรายละเอียดการตรวจสอบที่เพิ่มเติมหรือแตกต่างกันไป ก็ต้องศึกษาข้อมูลจากผู้ติดตั้งหรือผู้ผลิต หรือในข้อกำหนดมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
23 มิถุนายน 2566




