Engineering Technology to COVID-19 for AFEO Program Series I

Engineering Technology to COVID-19 for AFEO Program Series I
Time: Aug 25, 2021 06:00 PM Kuala Lumpur
Dr. Suttisak Soralump Chairman, AFEO Disaster Preparedness Work Group
1) “The negative pressure cabinet in emergency use for the COVID-19 situations.”
By Mr. Boonpong Kijwatanachai – Executive committee of EIT, 2020-2022, Chairperson of Mechanical Engineers of EIT, Managing Director, Thai Alternative Engineering Consultant Co., Ltd, Thailand
2) “Thailand Innovation Field Hospital Bed in COVID-19”
By Dr. Pawat Vitoorapakorn – Vice Chairman and Chief Executive Officer, Eastern Polymer Group Public Company Limited, Thailand
3) Good Governance and Disaster Risk Reduction Management
By Hon. Alfredo Matugas Coro II – Municipal Mayor, Municipality of Del Carmen, Siargao Islands, Philippines
See you at the nest Series on Topic “Engineering Technology to COVID-19 for AFEO Program” Series II on 30 August 2021, Series III on 21 September 2021, Series IV on 28 September 2021

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันตก และสมาคมศิษย์เก่า มจพ. พร้อมทีมช่าง ช่วยกันติดตั้งตู้ความดันลบ วสท. Type 3 จำนวน 4 ชุด มอบให้กับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์

วศ.พิจักษณ์ วงศ์รัตน์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันตก และสมาคมศิษย์เก่า มจพ. พร้อมทีมช่าง ช่วยกันติดตั้งตู้ความดันลบ วสท. Type 3 จำนวน 4 ชุด มอบให้กับโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ โดยประกอบติดตั้งให้แล้วเสร็จจำนวน 2 ชุด อีก 2 ชุดทางโรงพยาบาล จะนำไปประกอบติดตั้งในภายหลังด้วยทีมช่างของโรงพยาบาล

ลักษณะรอยแตกร้าวของอาคารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอาคารวิบัติได้

อาคารที่มีเสียงลั่นเป็นระยะๆ พร้อมกับมีคอนกรีตร่วง แสดงว่าโครงสร้างของอาคารเริ่มแบกภาระไม่ไหว รอยต่อของโครงสร้างจะเริ่มแยกขาดจากกัน และถ้ารอยต่อของอาคารขาดจากกันเมื่อใด อาคารจะมีโอกาสพังถล่มค่อนข้างมาก
จากประสบการณ์ที่เคยเข้าไปช่วยกู้ภัยหลายครั้ง พบเห็นอาคารที่พังถล่มมีตำแหน่งขาดตรงรอยต่อของโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่
เสียงลั่นของอาคารเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งบอกให้อพยพคนออกจากอาคารเป็นการด่วน รวมถึงไม่ควรเข้าไปในอาคารที่ยังมีเสียงลั่นอยู่ สำหรับการจะเข้ากู้ภัยควรรอให้อาคารเกิดการแตกหักในระดับหนึ่งแล้วเกิดสมดุลใหม่ก่อน จึงจะเข้าไปภายในได้ ซึ่งตรงนี้ควรมีการตรวจวัดการขยับตัวตลอดเวลา
ในเบื้องต้นที่ยังเข้าอาคารไม่ได้ สามารถจำแนกหาตำแหน่งชำรุดเสียหายที่เกิดขึ้นในอาคารได้จากสภาพแตกร้าวที่ปรากฏภายนอกอาคาร ดังเช่นอาคารที่แสดงรูปประกอบมานี้ เป็นอาคาร 3 ชั้นจำนวน 7 ห้อง เมื่อดูรอยแตกร้าวจะพบเป็นรอยแตกเฉียงห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 เป็นรอยแตกเฉียงซึ่งมีทิศทางกลับทิศทางกัน นั่นแสดงให้เห็นว่าห้องที่อยู่ตรงกลางมีการขยับยุบตัวลง ซึ่งอาจเกิดจากฐานรากทรุดตัวหรือเสาอาคารห้องที่อยู่บริเวณส่วนกลางระหว่างห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 ระเบิดออก
เมื่อนำกล้องสำรวจมาส่องเพื่อดูการขยับตัว โดยตรวจวัดการขยับตัวที่ห้องตรงกลางระหว่างห้องที่ 1 กับห้องที่ 7 พบว่ามีการทรุดตัวในช่วง 15 นาทีแรกวัดการทรุดตัวได้ 0.7 มม และอีก 15 นาทีต่อมาตรวจวัดอีกครั้ง พบว่าทรุดตัวลงเพิ่มอีก 1 มม. ผลตรวจวัดในเบื้องต้นดังกล่าวนี้แสดงว่าอาคารขยับยุบตัวหรือทรุดตัวลงเร็ว
ผลจากการวิเคราะห์รอยร้าวดังกล่าวทำให้สามารถบ่งบอกได้ว่าตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งที่เกิดปัญหา และทำให้ในช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถกำหนดตำแหน่งสำรวจได้ตรงจุดของปัญหาที่เกิด
ลักษณะรอยแตกร้าวของอาคารเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอาคารวิบัติได้

นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)พร้อมอุปนายก วสท. เร่งลงพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยกับอาคารที่เกิดการแตกร้าว มีเสาระเบิดหลายต้น บริเวณ ถ.ศรีนครินทร์

นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ดร.ธเนศ วีระศิริ พร้อม รศ.สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก วสท. เร่งลงพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำด้านความปลอดภัยกับอาคารที่เกิดการแตกร้าว มีเสาระเบิดหลายต้น บริเวณ ถ.ศรีนครินทร์ โดยอาคารมีเสียงลั่นภายในตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดเหตุเสาระเบิดในช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ในเบื้องต้นแนะนำให้อพยพห้ามอยู่ในอาคารและบริเวณใกล้เคียง มีการปิดการจราจรผ่านหน้าอาคาร เนื่องจากเป็นอาคารอันตรายและลดแรงสั่นสะเทือนของรถที่วิ่งผ่านไปมาจะเร่งการทรุดตัวของอาคารและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้สัญจรไปมาโดย วสท. จะให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด ต่อไป

 

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์มอบ ตู้ความดันลบแบบมี Ante Room สำหรับบริบาลทารกแรกเกิดในมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 ในห้องคลอดให้กับโรงพยาบาลสิรินธร

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม 2564 นพ.ยุทธนา เศรษฐนันท์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล ฝ่ายการแพทย์ พร้อมคณะผู้บริหารโรงพยาบาลโรงพยาบาลสิรินธร รับมอบ ตู้ความดันลบแบบมี Ante Room สำหรับบริบาลทารกแรกเกิดในมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 ในห้องคลอด จาก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ณ โรงพยาบาลสิรินธร สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
ในนามคณะผู้บริหารและบุคลากร โรงพยาบาลสิรินธร ขอกราบขอบพระคุณ พร้อมร่วมอนุโมทนาบุญกุศลในครั้งนี้ โปรดดลบันดาล ให้ท่านและครอบครัวประสบแต่ความสุข มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่แข็งแรงตลอดไป
#อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ
#FightCOVID19 MSD Moving Forward Together
#SRDH #โรงพยาบาลสิรินธร
#MSD #สำนักการแพทย์
#กรุงเทพมหานคร

 

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บางแค (ติดตั้งในห้องคลอด)

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บางแค (ติดตั้งในห้องคลอด) จำนวน 1 ตู้ พร้อมทดสอบสมรรถนะของตู้ และให้คำแนะนำเพื่อนำไปใช้งาน โดยมีแพทย์ และพยาบาลรับมอบ
19 สิงหาคม 2564 ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ บางแค
#วิศวกรอาสา
#รวมใจเป็นหนึ่งที่พึ่งประชาชน

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่โรงพยาบาลสิรินธร

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่โรงพยาบาลสิรินธร (เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหาคร มีจำนวน 400 เตียง) แบบที่ 3 จำนวน 1 ตู้ โดยติดตั้งที่ห้องเด็กทารกแรกเกิด พร้อมทดสอบสมรรถนะของตู้ และให้คำแนะนำในการใช้งาน โดยคณะผู้บริหารโรงพยาบาล แพทย์ และพยาบาลให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
19 สิงหาคม 2564 ณ โรงพยาบาลสิรินธร
#วิศวกรอาสา
#รวมใจเป็นหนึ่งที่พึ่งประชาชน

“รวมใจอาสา วิศวกรหนองคาย” วิศวกรอาสาจากจังหวัดหนองคาย และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมกันประกอบตู้ความดันลบตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานฯ มอบให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

“รวมใจอาสา วิศวกรหนองคาย” วิศวกรอาสาจากจังหวัดหนองคาย และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมกันประกอบตู้ความดันลบตามมาตรฐานวิศวกรรมสถานฯ มอบให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ Type 2 และ Type3 อย่างละสองตู้ ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในพระบรมราชูปถัมภ์

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ดาวน์โหลดคู่มือผู้ใช้ ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet)

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ทำต้นแบบ (Prototype) นี้ เป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด สำหรับจะนำใช้ในส่วนใดนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ในส่วนนั้น ๆ และก่อนใช้งานควรทำการตรวจสอบ
– ปริมาณการถ่ายเทอากาศ >12ACH
– Differential Pressure มากกว่า 2.5 pa (โดยในห้องผู้ป่วย ความดันต้องน้อยกว่าความดันภายนอก)
– อุณหภูมิภายในและภายนอก ต่างกันไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
– ความชื้นสัมพัทธ์ 50-65% RH

**เพื่อความสะอาดของตู้ความดันลบต้องเปิดพัดลมอย่างน้อย 30 นาที ก่อนการใช้งาน
– เปิดพัดลมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังการเลิกใช้ตู้ความดันลบ
–  ต้องเปิดพัดลมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เมื่อมีการสลับผู้ป่วยคนใหม่เข้าตู้ความดันลบ

หมายเหตุ :
– ระมัดระวังการต่อท่อลมกับพัดลมจะต้องไม่ให้เกิดการรั่วโดยเด็ดขาด (การทดสอบการรั่วทำได้โดยให้เปิดพัดลมแล้วตรวจสอบบริเวณรอยต่อโดยการใช้ฟองสบู่หรือโฟมล้างมือทำความสะอาด)
– ความหนาของพลาสติกที่กำหนดให้ใช้ ไม่น้อยกว่า 500 ไมครอนหรือ (0.5 มิลลิเมตร)

สอบถามเพิ่มเติม
คุณอังศนา โทร. 08-9914-2005
คุณแสงดาว โทร. 08-0649-8128

คลิกดาวน์โหลด 

 

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่ โรงพยาบาลซีจีเอช (พหลโยธิน) จำนวน 2 ตู้

วิศวกรอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ร่วมประกอบตู้ความดันลบมอบแก่ โรงพยาบาลซีจีเอช (พหลโยธิน) จำนวน 2 ตู้ (แบบที่ 2 และแบบที่ 3) พร้อมทดสอบสมรรถนะของตู้ และให้คำแนะนำเพื่อนำไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) หรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่จะต้องทำการแยกรักษาต่อไป โดยมีทีมแพทย์ และพยาบาลร่วมรับมอบฯ
17 สิงหาคม 2564 ณ โรงพยาบาลซีจีเอช (พหลโยธิน)
#วิศวกรอาสา
#รวมใจเป็นหนึ่งที่พึ่งประชาชน