ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ โดย ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ โดย ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)

วสท. จะมีแบบ และคู่มือผู้ใช้ ให้ดาวน์โหลด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้โรงพยาบาล หรือผู้สนใจสามารถนำไปผลิตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป

หมายเหตุ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำคู่มือผู้ใช้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์นี้

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ

ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ต้นแบบ โดย ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) วสท. จะมีแบบ และคู่มือผู้ใช้ ให้ดาวน์โหลด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้โรงพยาบาล หรือผู้สนใจสามารถนำไปผลิตเพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปหมายเหตุ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำคู่มือผู้ใช้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในสัปดาห์นี้

โพสต์โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) Engineering Institute of Thailand เมื่อ วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2020

วสท. พร้อมคณะทำงาน ไปส่งมอบตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ให้โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

พลตรี นายแพทย์เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ พอใจกับตู้ความดันลบ ทำให้โรงพยาบาลสามารถนำตู้ความดันลบไปใช้ได้หลายภารกิจ และกิจการของโรงพยาบาล โดย วสท. ถือโอกาสตั้งชื่อว่า “ตู้ความดันลบ” แทนชื่อเดิม (ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ) เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการออกแบบ และการนำไปใช้งาน

วันนี้ 30 มีนาคม 2563 นายก วสท. พร้อมคณะทำงาน ไปส่งมอบตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ให้โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และทำการทดสอบสมรรถนะต่อหน้าคณะเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ในสองเรื่องสำคัญ คือความสะอาดของอากาศด้วยการนำอากาศในตู้ความดันลบไปทิ้งในอัตรา 12 ครั้งต่อชั่วโมง (12 ACH) และการรักษาความดันอากาศของตู้ให้ต่ำกว่าบรรยากาศไม่น้อยกว่า 2.50 ปาสกาล (Pa) ผลการทดสอบตู้ความดันลบสามารถทำความสะอาดได้ 19 ACH และการรักษาความดันของตู้ต่ำกว่าบรรยากาศได้ 6.0 ปาสกาล(Pa) ดีกว่าเกณฑ์ที่ใช้คำนวณทั้งสองเรื่อง ท่ามกลางความปลื้มปิติของทั้งสองฝ่าย

หลังจากส่งมอบตู้ต้นแบบความดันลบหมายเลข EIT-01-1/24032020 ที่ได้ส่งมอบให้โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะแล้ว วสท. ได้ปรับปรุงตู้ความดันลบขนาดตู้เท่าเดิมเป็นรุ่นที่ 2 หมายเลข EIT-01-2/24032020 ด้วยการเพิ่มซิปที่ประตู เพิ่มสวิทช์ไฟฟ้าแสดงสถานะความดันลบ เพิ่มเต้ารับไฟฟ้าในห้องเพื่อให้สามารถใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ และตู้ความดันลบรุ่นที่ 3 ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งขอให้ วสท. ขยายพื้นที่ตู้ความดันลบต้นแบบให้มีขนาดใหญ่ เป็นกว้าง 1.90 เมตร ยาว 2.60 เมตร และสูง 2.20 เมตร พร้อมเพิ่มห้อง ANTE ขนาดกว้าง 0.90 เมตร ยาว 2.60 เมตร และสูง 2.20 เมตร เปลี่ยนพัดลมให้มีอัตราการไหลมากขึ้น ซึ่งตู้ความดันลบนี้จะเป็นรุ่นที่ 3 EIT-01-3/24032020 มีกำหนดส่งมอบให้โรงพยาบาลวันที่ 31 มีนาคม 2563

ค่ำวันนี้ 30 มีนาคม 2563 วิศวกรอาสา วสท. ยังคงเร่งงานประกอบตู้ที่เหลือเนื่องจากวันอาทิตย์ไม่สามารถหาซื้อพัดลม และอุปกรณ์หลายอย่างได้

พวกเราต้องสู้ต่อไป เพราะภารกิจของพวกเรายังไม่จบสิ้นตราบใดที่คนไทยยังไม่ปลอดภัยจากไวรัสโควิด 19

นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัยCOVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วสท.

นายก วสท. ดร.ธเนศ วีระศิริ นำทีมวิศวกรอาสา นำห้องต้นแบบความดันลบไปติดตั้งที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

วันนี้ 29 มีนาคม 2563 (วันอาทิตย์)
“ขอให้พวกเรามีห้องใหญ่ขึ้น และเพิ่มพื้นที่สำหรับก่อนการเข้า และออกจากตรวจผู้ป่วย (ANTE)” เพื่อเกิดประโยชน์กับสถานพยาบาลให้มากที่สุด ในทันที่ วสท. ได้รับทราบก็เริ่มทำการพัฒนาแบบเพื่อสนองตอบความต้องการของสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด

เมื่อวานนี้ 28 มีนาคม 2563 หลังจากที่ นายก วสท. ดร.ธเนศ วีระศิริ นำทีมวิศวกรอาสา นำห้องต้นแบบความดันลบไปติดตั้งที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เพื่อรับฟังความเห็น และข้อแนะนำในการใช้งานจากบุคลากรทางการแพทย์ทั้งนายแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ซึ่งคำแนะนำคือ ขอให้ห้องใหญ่ขึ้น และเพิ่มพื้นที่ก่อนการเข้า และออกจากตรวจผู้ป่วย (ANTE) ทำให้ตู้ต้นแบบที่พัฒนาครั้งที่ 2 ที่ วสท. ปรับปรุงให้มีสวิทช์เปิดปิดพัดลมแบบมีแสงเพื่อแสดงสถานะความดันลบ ซิปเปิดปิดประตู และเต้ารับไฟฟ้า ก็เริ่มการพัฒนาครั้งที่ 3 การขยายห้อง และเพิ่มพื้นที่ ซึ่งพิสูจน์วัตถุประสงค์ในเรื่องตู้ต้นแบบยืดหยุ่น และสามารถขยายพื้นที่ได้ และเพิ่มพื้นที่ได้

ตอนนี้ตู้พัฒนาครั้งที่ 3 การขยายห้อง และเพิ่มพื้นที่ เสร็จแล้ว เตรียมการติดตั้งพัดลม และระบบไฟฟ้า
วันนี้ขอชมเชยภารกิจของ นายก วสท.ในวันหยุด ที่ลงมือควบคุมการก่อสร้าง และผลิตแบบสู้ไม่ถอยจริง ๆ

ตราบใดที่เชื้อโรคยังไม่หยุด พวกเราจะทำงานและก็จะทำจนสุดความสามารถ ถึงแม้จะเป็นวันหยุดของร้านขายวัสดุก่อสร้างหลายแห่งก็ตาม แต่เพื่อให้คนไทยสามารถกลับไปใช้ชีวิตอย่างปกติโดยเร็ว เรื่องแค่นี้ไม่เหนือบ่ากว่าแรงครับ

นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัยCOVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วสท.

   

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของ วสท. ใช้ชื่อว่า “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบAirborne Infection Isolation Room” หรือ AIIR ขอชื่นชมต่อหยาดเหงื่อของทีมวิศวกรอาสา วสท. ทุกคน

วันที่เหน็ดเหนื่อยแต่ก็เปี่ยมล้นไปด้วยกำลังใจ 28 มีนาคม 2563 คือการทำหน้าที่ของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)
“ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ”

และขอชื่นชมต่อหยาดเหงื่อของทีมวิศวกรอาสา วสท. ทุกคน พวกท่านคือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริง นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2563 หลังจาก วสท.ได้ร่วมหารือกับโรงพยาบาลแห่งหนึ่งเพื่อขอให้ทำห้องแยกผู้ป่วยติดเชื้อความดันลบซึ่งในปัจจุบันกำลังขาดแคลน และสร้างไม่ทันต่อจำนวนผู้ป่วยแน่ สร้างเท่าไรก็ไม่พอ นายก วสท.โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ จึงตั้งทีมทำงาน เพื่อหาวิธีที่จะสร้างห้องความดันลบซึ่งต่อมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของ วสท. ใช้ชื่อว่า “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ” ภาษาอังกฤษ
“Airborne Infection Isolation Room” หรือ AIIR

โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นห้องแยกความดันลบทั่วไปที่สามารถให้คนนั่งได้ สามถึงสี่คน หรือหนึ่งเตียงในสถานพยาบาล เคหะสถาน และอื่น ๆ เพื่อใช้ในการป้องกันการติดเชื้อทางอากาศ
2. เพื่อใช้ครอบเตียงผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่เชื้อ หรือติดเชื้อทางอากาศ
3. เพื่อลดระยะห่างความปลอดภัยระหว่างเตียงผู้ป่วย และอำนวยความสะดวกแก่บุคลากรทางการแพทย์ในการเข้าตรวจผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นต้องใส่ชุดป้องกันบุคคล
4. เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และประชาชนที่มาใช้บริการในโรงพยาบาล
5. เพื่อให้ใช้งานทั้งภายในอาคารและในที่ร่มภายนอกอาคาร
6. เพื่อสนับสนุนการใช้วัสดุภายในประเทศ วัสดุที่เลือกใช้ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยในการใช้งาน ดูแลบำรุงรักษา และทำความสะอาดห้องได้โดยง่าย
7. เพื่อเป็นมาตรฐานกลางให้กับหน่วยงานราชการนำไปใช้ในการจัดซื้อ

เกณฑ์ที่ใช้ในการออกแบบ และคำนวณด้านเครื่องกล
1. ห้องมีความกว้าง 1.30 เมตร ยาว 2.60 เมตร สูง 2.20 เมตร เพียงพอที่จะใส่เตียงคนไข้ ความกว้าง ประมาณ 0.60 เมตร ยาว 1.90 เมตร และเสาน้ำเกลือสูง 2.10 เมตร หรือให้สามารถให้คนนั่งได้ 3 ถึง 4 คน ตามระยะห่างความปลอดภัยต่อการแพร่เชื้อ

2. การนำอากาศจากภายนอกห้องไหลเข้ามาเจือจางอากาศที่ปนเปื้อนภายในห้อง โดยใช้พัดลมดูดอากาศที่ด้านหัวเตียงคนไข้ในอัตราไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อชั่วโมง(ACH) เพื่อนำอากาศที่เจือจางนี้ทั้งหมด(100%) ไปปล่อยทิ้งนอกอาคารในระยะห่างจากอาคารไม่น้อยกว่า 8.00 เมตร โดยไม่นำอากาศที่เจือจางนี้กลับมาใช้ใหม่

3 รักษาความดันลบภายในห้องให้น้อยกว่า 2.5 ปาสกาล(Pa) เทียบกับความดันบริเวณโดยรอบ

4 อุณหภูมิอากาศภายนอกและภายในห้องให้แตกต่างกันไม่เกินบวกลบ 2 องศาเซลเซียส

ผลการทดสอบสมรรถนะ มีดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศภายในห้องและภายนอกห้อง ก่อนเปิดและปิดพัดลม บวกลบไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
ผลการตรวจวัด: ผ่านการทดสอบโดยวัดอุณหภูมิภายนอกและภายในห้องวัดได้ 32.4 – 32.5 องศาเซลเซียสใกล้เคียงกัน

2. การตรวจวัดการรั่วของอากาศที่รอยต่อผนังห้อง
ผลการตรวจวัด: ผ่านการทดสอบโดยค่าความเร็วลมอ่านได้ศูนย์ และควันธูปไม่ไหลเข้าห้อง

3. การตรวจวัดอัตราการไหลของอากาศเพื่อระบายอากาศภายในห้องไม่น้อยกว่า 12 ACH
ผลการตรวจวัด: ผ่านการทดสอบอ่านค่าได้ 147.02 ลูกบาศ์กเมตรต่อชั่วโมง เท่ากับ 19 ACH

4. การตรวจสอบความดันลบของห้องไม่น้อยกว่า 2.50 ปาสกาล (Pa)
ผลการตรวจวัด: ผ่านการทดสอบโดยอ่านค่าความดันลบภายในห้องได้ 8 ถึง 12 Pa

สรุป ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ EIT01-1/24032020
(Airborne Infection Isolation Room หรือ AIIR)
– ขนาดห้องกว้าง 1.30 เมตร ยาว 2.60 เมตร สูง 2.20 เมตร
– ใช้โครงสร้างเป็นท่อพีวีซี Class 13.5
– พลาสติกมี่ใช้ทำผนังและเพดานมีความหนา 60 ไมครอน(ไมโครเมตร) ผ่านมาตรฐาน GMP
– ยี่ห้อ มิตซูบิชิแบบติดเพดานรุ่น VD15Z4T อัตราการไหล 150 ลูกบาศ์กเมตรต่อชั่วโมง(90 ลูกบาศ์กฟุตต่อนาที)

วันนี้ 28 มีนาคม 2563 สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของ วสท. “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ”
“Airborne Infection Isolation Room” หรือ AIIR ก็ออกทำหน้าที่ให้กับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย

ผู้อำนวยการ ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID 19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วสท.

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ประดิษฐ์ “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ” ต้นแบบ

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ประดิษฐ์ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบต้นแบบ เพื่อให้หน่วยงานนำไปผลิต นำไปใช้ในโรงพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วย ลดการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดย คุณบุญพงศ์  กิจวัฒนาชัย  ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ได้ให้สัมภาษณ์ ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ในรายการ ครบเครื่องเรื่องบ้าน 

อยู่บ้านเพื่อเว้นระยะห่างทางสังคมยาว ๆ แต่ติดตามฟังรายการ #ครบเครื่องเรื่องบ้านได้วสท. ประดิษฐ์ "…

โพสต์โดย Thai PBS Podcast เมื่อ วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2020

 

ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ EIT-01-1/24032020 (Airborne Inflection Isolation Room หรือ AIIR)

ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ
EIT-01-1/24032020
(Airborne Inflection Isolation Room หรือ AIIR)

สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นห้องอเนกประสงค์เพื่อบรรเทาความแออัดในสถานพยาบาล และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง การกักตัว และประชาชนทั่วไป สามารถใช้เป็นที่นั่งสามถึงสี่คนตามระยะห่างความปลอดภัย หรือใส่เตียงคนไข้หนึ่งเตียง

เลือกใช้วัสดุภายในประเทศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยในการใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และทำความสะอาดห้องได้โดยง่าย รวมถึงเพื่อเป็นมาตรฐานกลางให้กับหน่วยงานราชการ และเอกชนนำไปใช้ในการจัดซื้อ เนื่องจาก วสท. จะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต โรงงานผลิต และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการผลิต หรือการจำหน่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

ขณะนี้ห้องดังกล่าวผ่านการทดสอบโดยอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นภายในห้อง การรั่วที่มากเกินไปของผนังห้อง การหมุนเวียนอากาศจำนวน 12 ครั้งต่อชั่วโมง และการรักษาแรงดันห้องให้มีความดันลบ (ต่ำกว่าความดันบรรยากาศ) น้อยกว่า 2.50 ปาสกาล (Pa)

ขณะนี้ วสท.รอการส่งมอบให้สถานพยาบาล และเตรียมออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ทางการแพทย์ชิ้นที่ 2 เป็นถุงครอบศีรษะบุคลากรทางการแพทย์แบบความดันบวก เพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วย อุปกรณ์ทางการแพทย์ชิ้นที่ 3 เป็นฝาครอบโปร่งแสงครอบเตียงรถพยาบาลความดันลบ พร้อมอุปกรณ์บำบัดอากาศเพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดระหว่างทาง และขยายผลถึงรถเข็นคนไข้

คนไทยต้องทำความหวังให้เป็นความจริงด้วยการลงมือทำ ขณะนี้เชื่อว่าวิศวกรไทย และคนไทยทุกคนต้องการช่วยเหลือประเทศด้วยความรู้ที่เรียนมา ด้วยความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิด ดังนั้นทุกความเห็น และกำลังใจของท่านจะช่วยให้พวกเราลงมือทำ และจะทำต่อไปจนกว่าคนไทยจะผ่านวิกฤตการณ์นี้ด้วยกันทุกคน

สุดท้ายขอให้ทุกคนใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไม่สร้างความเดือดร้อนต่อสังคม อยู่กับบ้านตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และสุขภาพแข็งแรงทุกคน
เผยแพร่โดย นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ
ประธานสาขาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

27 มีนาคม 2563

ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบEIT-01-1/24032020(Airborne Inflection Isolation Room หรือ AIIR)โดย ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

โพสต์โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) Engineering Institute of Thailand เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2020

  

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ได้ทำหน้าที่ให้กับสังคม ด้วยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ทางการแพทย์”ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ” (Airborne Inflection Isolation Room)

25 มีนาคม 2563 เป็นอีกวันหนึ่งที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ได้ทำหน้าที่ให้กับสังคม ด้วยการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญต่อความปลอดภัยทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID-19

สิ่งประดิษฐ์นั้นเป็นต้นแบบของห้องสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ใช้ชื่อว่า “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ” (Airborne Inflection Isolation Room) ได้ออกแบบตามมาตรฐานทางการแพทย์ และวิศวกรรม เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย

ห้องดังกล่าว ขณะนี้ได้ทดสอบสมรรถนะการทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ผลเป็นที่พึงพอใจ เพื่อให้เกิดการยอมรับทางการแพทย์ วสท. ได้เชิญผู้แทนจากโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 แห่ง ร่วมพิจารณารูปแบบ และการทำงาน ซึ่งทั้งสองแห่งเห็นว่าสามารถนำไปใช้กับโรงพยาบาลได้ และให้ วสท. นำห้องดังกล่าวไปทดลองใช้ที่โรงพยาบาล

ในลำดับต่อไป วสท. จะได้ทำการเขียนแบบโดยละเอียด กำหนดชนิด วัสดุ อุปกรณ์ รายละเอียดการคำนวณ คู่มือการใช้ การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ในการขยายผลต่อไป

วสท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “ห้องแยกการติดเชื้อทางอากาศความดันลบ” จะได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลทั้งใน และนอกสถานที่ และการเริ่มต้นของ วสท. จะช่วยผลักดันให้คนไทยได้สำนึกถึงความรับผิดชอบร่วมกัน ใส่ใจดูแลสุขภาพ และการปฏิบัติตามข้อแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความผาสุก ของคนไทยในอนาคตร่วมกัน

เผยแพร่โดย นายบุญพงษ์ กิจวัฒนาชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย COVID วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ

 

ประกาศ!! เลื่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562

? ประกาศ!! เลื่อนการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562

เรียน สมาชิก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.)

เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) คณะกรรมการอำนวยการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ มีมติให้เลื่อนการจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2563 ออกไป (ตามเอกสารแนบ)

หากมีกำหนดการที่แน่นอน จะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)

มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19)

ด้วยขณะนี้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ คำนึงถึงความปลอดภัย และสุขอนามัยของสมาชิก และผู้ร่วมอบรมสัมมนา เป็นอันดับแรก

จึงมีมาตรการป้องกัน เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) โดยขอเลื่อนการจัดอบรม สัมมนา ที่จัดระหว่างวันที่ 16-31 มีนาคม 2563 ออกไป โดยไม่มีกำหนดการที่แน่นอน (รายละเอียดตามประกาศที่แนบ)

ขออภัยในความไม่สะดวก มา ณ ที่นี้

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เลื่อนการอบรม สัมมนา ตั้งแต่วันที่ 16-31 มีนาคม 2563

ประกาศเลื่อนการอบรมสัมมนาตั้งแต่วันที่ 16-31 มีนาคม 2563 แพร่ลดการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เลื่อนการอบรม สัมมนา ตั้งแต่วันที่ 16-31 มีนาคม 2563 ออกไปและได้จัดการทำความสะอาดห้องอบรม สัมมนา ห้องประชุม ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อความปลอดภัยของทุกท่าน