จากเหตุการณ์เยาวชนและผู้ฝึกสอนทีมฟุตบอลหมูป่าติดอยู่ภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย รวม 13 ชีวิต เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การระดมทุกสรรพกำลังจากหลายวิชาชีพเข้ามาเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กลับออกมาได้อย่างปลอดภัยได้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2561 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนี้และได้เล็งเห็นถึงองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมหลากหลายด้านที่ปรากฏขึ้นระหว่างปฏิบัติการในครั้งนี้
จึงได้จัดการเสวนาถอดบทเรียน“ปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรม 13 ชีวิตติดถ้ำหลวง” ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม 2561 โดยเชิญผู้ปฏิบัติภารกิจลงพื้นที่ตัวจริงจากหน่วยงานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนมาร่วมเสวนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในทุกมิติจากปฏิบัติการช่วยเหลือ 13 ชีวิต ณ ถ้ำหลวง จ.เชียงราย ได้เป็นกรณีศึกษาหากในอนาคตประเทศไทยหรือต่างประเทศประสบภัยพิบัติที่คล้ายคลึงกันนี้จักได้นำองค์ความรู้นี้มาใช้ประโยชน์ รวมทั้งยังเป็นข้อมูลอ้างอิงแก่งานวิศวกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ช่วงที่ 1 ภาพกว้างการควบคุมและจัดการปฏิบัติการช่วยชีวิต 13 หมูป่า ถ้ำหลวง เชียงราย
• นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
• นายสมหมาย เตชวาล รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย
• นายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ช่วงที่ 2 งานสำรวจจัดทำแผนที่ภูมิประเทศ
• ดร.นิอร สิริมงคลเลิศกุล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย
• รศ.ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• ดร.สามารถ ดีพิจารณ์ รักษาการ คณบดีวิทยาลัยวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา สจล.
• ดร.สว่างทิตย์ ศรีกิจสุวรรณ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ช่วงที่ 3 งานเจาะถ้ำ และสำรวจธรณีวิทยา
• รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมปฐพี, คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
• ผศ.ดีเซลล์ สวนบุรี ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• นายสุเมธ สุรบถโสภณ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
• ดร.กัมปนาท ขวัญศิริกุล สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา กรมชลประทาน
• นายอำนวย วงษ์พานิช ผอ.โครงการขยายอายุการใช้งานท่อส่งก๊าซบนบกเส้นที่ 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ช่วงที่ 4 การสูบน้ำออกจากถ้ำ
• นายไพฑูรย์ นาคแท้ ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 15 เชียงราย
• นายวีรยตม์ เฉลิมนนท์ ผจก.ฝ่ายวิศวกรโครงการก่อสร้างไฟฟ้าพลังน้ำไซยะบุรี บริษัท •ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
•ดร.กัมปนาท ขวัญศิริกุล สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา กรมชลประทาน
•นางสาวอ้อมใจ ปิ่ณฑะแพทย์ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาวุโส บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์ไทย จำกัด
•นายนภดล นิยมค้า บริษัท นิยมค้ามารีนเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด